การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง แผนภาพสมดุลของเหล็ก-คาร์บอน สำหรับนักศึกษาวิศวกรรมการผลิตและอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Main Article Content

ดวงพร ชิณบุตร
เมธา อึ่งทอง
น่านน้ำ บัวคล้าย

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาและหาคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง แผนภาพสมดุลของเหล็ก-คาร์บอนของนักศึกษา สาขาวิศวกรรมการผลิตและอุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง แผนภาพสมดุลของเหล็ก-คาร์บอน 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แผนภาพสมดุลของเหล็ก-คาร์บอน ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน


กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 สาขาวิศวกรรมการผลิตและอุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน 30 คน โดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม


ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง แผนภาพสมดุลของเหล็ก-คาร์บอน มีคุณภาพด้านเนื้อหาและการดำเนินเรื่อง อยู่ในระดับมากที่สุด (=4.58, S.D=0.50) และด้านการออกแบบสื่อการสอน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=4.45, S.D=0.50) 2) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง แผนภาพสมดุลของเหล็ก-คาร์บอน
มีประสิทธิภาพเท่ากับ 79.63/74.22 และ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แผนภาพสมดุลของเหล็ก-คาร์บอนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนของนักศึกษาสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

อ้างอิง
ภาษาไทย
เกศรินทร์ หมื่นจำนงค์, ดำรัส อ่อนเฉวียง และสุขมิตร กอมณี. (2562). “การพัฒนา
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบน เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่องเครือข่าย
คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลเกาะจันทน์”.
วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 7, 1 : 85-99
ชัยยงค์ พรมวงศ์. (2556). “การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน.” วารสาร
ศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย 5, 1 (มกราคม-มิถุนายน): 7-13.
ถนอมพร (ตันติพัฒน์) เลาหจรัสแสง. (2541). คอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพฯ :
ภาควิชาโสตทัศนศึกษา.
นาถฤทัย ทองจันทร์ และบุษบา กนกศิลปธรรม. (2562). “การพัฒนาบทเรียนสร้าง
เสริมความสามารถด้านการฟัง-พูดภาษาอังกฤษเพื่อการโรงแรม สําหรับ
นักศึกษาสาขาวิชาการโรงแรม วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม”. วารสารศึกษา
ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 17, 1 (มกราคม-มิถุนายน): 133-147
เบญจมาศ คุชนี, .จตุพร สกุลสุทธิวัฒน์, ณิชาภัทร สมัยพานิช, อชิดา จารุโชติกมล และปวิตรา พูลบุตร (2561). “ประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง
เภสัชวิทยาของยารักษาแผลในทางเดินอาหาร”. วารสารวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี 26, 6 (พฤศจิกายน-ธันวาคม): 1030-1040
ปรีดา หล๊ะ. (2557). “การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง การสร้างตาราง
คำนวณด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
ชั้นปีที่ 2” สารนิพนธ์นี้หลักสูตรปริญญาศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและ
การสอน มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
มนธิรา บุญญวินิจ, สิทธิชัย ลายเสมา, วรวุฒิ มั่นสุขผล, สมหญิง เจริญจิตรกรรม, นุส
รา เดชจิตต และสิทธิพล วาสบุญเรือง. (2563). “การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อ
การศึกษา รายวิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง Modal Verbs สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่3
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร”. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศิลปากร 18, 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม): 234-248
เมธา อึ่งทอง. (2561). “การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง การลับคมตัด
มีดกลึง สำหรับนักศึกษา ชั้นปีที่1 ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล คณะครุศาสตร์
อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ”. วารสาร
วิชาการ Veridian E-Journal 11, 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม): 3432-3446.
รุ่งแก้วแดง. (2541). การนําภูมิปัญญาไทยเข้าระบบสู่การศึกษา. กรุงเทพฯ :
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
สุมาลี สิกเสน. (2562). “การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์
เรื่อง การสร้างภาพเคลื่อนไหวร่วมกับการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียน
กลับด้าน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม”.
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 17, 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม): 239-
252
อนิรุทธ์ สติมั่นและคณะ. (2556). “การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง ดนตรี
จีนชุมชนบางหลวง”. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 5, 1
(มกราคม-มิถุนายน): 35-47