ผลของการจัดการเรียนรู้วิชาเคมีโดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน และหลังเรียนเทียบกับเกณฑ์ 1.36 (ระดับสูง) 2) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน และหลังเรียนเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศรีราชา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 1 ห้องเรียน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน แบบทดสอบวัดสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระจากกัน และการทดสอบทีแบบกลุ่มเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ 1.36 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
January 12, 2020 from https://www.oecd.org/pisa/20.pdf
Office of the Education Council. (2007). Student-Based Learning Management Approach:
Problem-Based Learning Management. Bangkok: Printing House, The Agricultural
Cooperative Federation of Thailand, Ltd. (in Thai)
Pajongjit, N. (2017). A problem-based learning management to develop the collaborative
problem solving competencies on rotational motion of Mathayomsuksa 4 students.
Educational thesis Master's degree in Physics, Graduate School, Naresuan University.
(in Thai)
Pisit, T. (2014). “The concept of classifying learning behaviors according to the cognitive education
objectives of Bloom and Faculty, revised version”. Journal of Lampang Rajabhat
University 3(2), 13-25. (in Thai)
Prasart, N. (2011). 21st century learning. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)
Project PISA Thailand Institute of Teaching and Technology. (2018). Collaborative problem solving
Executive Summary. [Online]. Retrieved January 12, 2020, from
https://drive.google.com/file/d/view (in Thai)
Somwang, U. (2011). Development of Problem Solving Ability and Academic Achievement in
Circulatory System Biology of Mathayomsuksa 4 students using problem-based
learning activities. Master of Education Thesis, Department of Science Education, Graduate
School, Khon Kaen University. (in Thai)
Thanyaporn, S. (2017). Problem-based learning management to develop academic
achievement and scientific reasoning ability basic chemistry course on chemical
reactions for students in Mathayom 4. Master of Arts Thesis, Teaching Science, Faculty of
Education, Rangsit University. (in Thai)
Thatsatrin, K. (2009). Learning science in context. IPST Magazine 38(166), 56-59. (in Thai)
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2017). Teacher's manual
for additional courses in Chemical Science and Technology Volume 3 according to
learning results Science and Technology Learning Group (Revised version 2017)
according to the core curriculum of basic education, B.E. 2561. Retrieved January 12,
2020 from http://www.scimath.org (in Thai)
Wijarn, P. (2013). Ways to create learning for students in the 21st century. Bangkok: Thada
Publication. (in Thai)