การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้แบบจำลองเป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่อง การปรากฏของดวงจันทร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

เมษา นวลศรี

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้แบบจำลองเป็นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้แบบจำลองเป็นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในจังหวัดปทุมธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ และ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ การวิจัยนี้ใช้แบบแผนการทดลองเป็นแบบ 1 กลุ่ม ที่มีการทดสอบก่อนและหลัง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ทั้ง 4 แบบ ได้แก่ แบบสมมตินัย แบบอธิบาย  แบบนิรนัย และ แบบอุปนัย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) คะแนนความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้แบบจำลองเป็นฐานสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Faikhamta, C. and Supatchaiyawong, P. (2014). Model-based learning. Kasetsart educational review. 29(3). 86-99. (in Thai)
Fitz - Gibbon and Carol, T. (1987). How to Design a Program Evaluation. Newbury Park: Sage.
Giere, R. N. (1991). Understanding Scientific Reasoning. Florida: Holt, Rinehart and Winston Inc.
Inpia, J., Chanunan, S., and Chaiyasith C. (2018). Development of scientific reason ability and decision making of grade 12 students through socio-scientific issue based instruction on biomolecule. Journal of Education Naresuan University. 22(3): 49-64. (in Thai)
Kamanee T. (2014). Science of teaching knowledge for effective learning management. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)
Lawson, A. E. (2009). Basic inferences of scientific reasoning, argumentation, and discovery. Science Education. 94(2): 356– 362.
Meela, P. and Artdej, R. (2017). Model based inquiry and scientific explanation: promoting meaning in classroom. Journal of Education Naresuan University. 19(3): 1-15. (in Thai)
Neilson, D., Campbell, T., and Allred, B. (2010). Model-based inquiry in physics: A buoyant force module. The Science Teacher. 77(8): 38-43.
Suriyo, C. (2020). The development learning activities for encouraging scientific reasoning abilities for aatthayomsueksa 4 students. Master of education (curriculum and instruction). Rajabhat Maha Sarakham University : Maha Sarakham. (in Thai)
The institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST). (2003). Handbook of learning management for science learning. Bangkok: The institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (in Thai)
Worakitchanon, Y., Pitiporntapin, S., and Boonsoong, B. (2020). The Development of 11th Grade Students’ Science Communication in Writing Skill in the Unit of Digestive System Using Model-Based Inquiry Teaching. [online]. Retrieved January, 11, 2021, from https://app.gs.kku.ac.th/images/img/support/grc2020/pdfabstracts//HMO8.pdf