การศึกษามิติพื้นที่การเรียนรู้ดนตรีไทยในสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง “การศึกษามิติพื้นที่การเรียนรู้ดนตรีไทยในสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามิติพื้นที่การเรียนรู้ดนตรีไทยในสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ และ ศึกษาผลกระทบของพื้นที่การเรียนรู้ต่อการจัดการเรียนการสอน และ อัตลักษณ์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ โดยการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และสัมภาษณ์ จาก 1) กลุ่มผู้อาจารย์ผู้สอนในสาขาวิชาดนตรีไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ และ คณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ 2) กลุ่มนักศึกษาที่เรียนในสาขาดนตรีไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ และ คณะศิลปศึกษา 3) กลุ่มผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ระหว่างพ.ศ.2540 - พ.ศ.2559
การศึกษาพบว่า พื้นที่การเรียนรู้ดนตรีไทยบริเวณโดยรอบพระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนักศึกษาและอาจารย์ต่างสาขาวิชา มีการใช้พื้นที่ฝึกซ้อมและเรียนดนตรีไทยนอกห้องเรียน มีความใกล้ชิดครูผู้เชี่ยวชาญจากสำนักการสังคีต มีความภูมิใจต่อประวัติศาสตร์ของสถานที่ มีข้อเสียคือ ห้องเรียนดนตรีมีจำกัด ต่างจากพื้นที่การเรียนรู้บริเวณวิทยาลัยนาฏศิลป ศาลายา ที่มีความพร้อม แต่การปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาและอาจารย์ต่างสาขาวิชาลดลง
อาจารย์และนักศึกษามองว่าพื้นที่การเรียนรู้ดนตรีไทยของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์คือความใกล้ชิดระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ จากการเรียนกับอาจารย์ที่จบการศึกษาจากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ทำให้มีความครอบครัว มีการเรียนการสอนดนตรีไทยตามขนบ ได้เรียนกับผู้เชี่ยวชาญ ศิลปินแห่งชาติ และบทบาทในการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ระดับชาติ สร้างประสบการณ์ ความภูมิใจในการอนุรักษ์ เผยแพร่วัฒนธรรม พื้นที่การเรียนรู้ดนตรีไทยสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จึงส่งผลต่ออัตลักษณ์ วิสัยทัศน์ และ พันธกิจของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
พระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พุทธศักราช 2550. (2550, 9 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124
ตอน 32 ก หน้า 1 – 24.
วิทยาลัยนาฏศิลปกรุงเทพ. (2537). อนุสรณ์ 60 ปี วิทยาลัยนาฏศิลป. กรุงเทพฯ : บริษัทประยูรวงศ์พริ้นท์ติ้ง จำกัด.
สงบศึก ธรรมวิหาร. (2540). ดุริยางค์ไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. (2558). ปวัติยานุกรม สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. กรุงเทพฯ : บริษัท นุชาการพิมพ์ จำกัด.
สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ. (2539). วิวัฒนาการและอนาคตภาพของวิทยาลัยนาฏศิลปในการพัฒนาศิลปวัฒนธรรมไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อภิภา ปรัชญพฤทธิ์. (2560). การออกแบบพื้นที่การเรียนรู้สำหรับสถาบันอุดมศึกษาในศตวรรษที่ 21.
วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(2), 379-392.
Elkington, S., Bligh, B. (2019). Future Learning Spaces: Space, Technology and Pedagogy. [Research Report]. Advance HE. 2019. Hal-02266834.