การพัฒนาบทเรียนออนไลน์โดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา

Main Article Content

สุมาลี สิกเสน

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์โดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา 2) เพื่อพัฒนาบทเรียนออนไลน์ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนหลังเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาคอมพิวเตอร์ ศึกษา  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จำนวน 30 คน คัดเลือกโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนออนไลน์ 2) แบบประเมินแผนจัดการเรียนรู้ 3) แบบประเมินคุณภาพบทเรียนออนไลน์ 4) แบบทดสอบวัด  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) 


              ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก (x = 4.67, S.D = 0.50) 2) คุณภาพของบทเรียนออนไลน์ มีค่าอยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.71, S.D  = 0.49) 3) ประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ (E1/E2) มีค่าเท่ากับ 82.67/85.33  4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 5) ความพึงพอใจของผู้เรียนหลังเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ อยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.81, S.D = 0.32)

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

เอกสารอ้างอิง
ภาษาไทย
Apiwat Vonggunha. 2019. How to Make Games with Construct 2. Retrieved January 8, 2020,
form https://sonmoo.wordpress.com/Make a game with-construct2/
Kanjana Janchung. (2017). A Study of the Learning Achievement of the Social Studies Subject on Suffciency Economy using Management Learn in Reverse Classroom Style. Master of Education Thesis. Rajamangala University of Technology Thanyaburi. 56.
Kidanan Malithong. 2002. Education Technology and Innovation. Bangkok: Aroonprinting
Ministry of Education. 2008. The Basic Education Core Curriculum. Bangkok : Ministry of
Education.
Nawapat Kemkaman. 2015. The effect of Flipped Classroom Instruction with e-Learning
Courseware on Achievement of Information Technology II Subject for Grade 10
Students. Master Degree of Science Program in Computer Education, Faculty of Industrial
Education, King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang.
Office of the Education Council. 2006. Monitoring and Evaluation Report on Education
Reform in education. Bangkok : century.
Puttiwan Chuangpitak, Thiyaporn Kantathanawat And Pariyaporn Tungkunanan. 2017. Development of
Flipped Classroom with active learning via e-Learning Ii Presenting Information Using
Technology for High School. Journal of Industrial Education, 16(2), Pp.89-96.
Saowaluk Suwannarong Aukkapong Sukkamart and Paitoon Pimdee.. 2015. The development of
instructional packages for reinforce the system thinking with cooperative and problem-based learning for Mathayomsuksa 5 at Bodindecha (Sing Singhaseni) school. Journal of Industrial Education, 14(3), pp. 699-703.
Thanaporn Kanjanapan. 2016. Effect of Inverted Classroom Learning Management on Academic Achievement in Biology Self-Directing and Satisfaction with Learning Mamagement of Mathayomsuksa 5 Students. Master of Education Thesis. Prince of Songkla University. 79.
Thansuda Jirakittiyakorn. 2012. Active Learning. Retrieved July 12, 2016,
from http://www.pr-network.in.th

ภาษาต่างประเทศ
Bergmann, J. and Sams, A. 2012. “Why Flipped Classrooms Are Here to Stay.” Education Week. 45 (2)
: p.17-41.
McGriff, Steven J. 2000. Instructional System Design (ISD): Using the ADDIE Model. Instructional Design Models. 226 (14), 1-2.
Meyers, c. And jones, t. B. 1993. Promoting active learning: strategies for the college classroom. San francisco : jossey-bass.