การเมืองกับการศึกษา: บทวิเคราะห์นโยบายการศึกษาของไทยภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองถึงปัจจุบัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองกับการศึกษา ซึ่งถือเป็นประเด็นสำคัญในวิชาพื้นฐานการศึกษาด้านการเมือง (Political Foundations of Education) โดยอยู่ภายใต้วิชาพื้นฐานการศึกษา (Foundations of Education) ซึ่งถือเป็นสาขาหนึ่งของวิชาการศึกษา ในช่วงก่อนทศวรรษที่ 1960 นั้น นักวิชาการส่วนใหญ่ยังแยกการเมืองกับการศึกษาออกจากกัน เพราะเชื่อว่าทั้งสองมีกิจกรรมที่แตกต่างกัน จนกระทั่งทศวรรษที่ 1980 ก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงแนวคิดดังกล่าว โดยมองว่าการศึกษามีลักษณะเป็นธุรกิจทางการเมืองอย่างหนึ่งเพราะมีความเกี่ยวข้องกับนโยบายและการบริหารการศึกษา ในบทความนี้จึงเน้นไปที่การวิเคราะห์นโยบายการศึกษาของไทยเพื่อสะท้อนถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองกับการศึกษาของไทย ตั้งแต่หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน โดยเป็นการวิเคราะห์ผ่านเอกสารราชการ 3 แหล่ง ประกอบด้วย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แผนการศึกษาแห่งชาติ และนโยบายของรัฐบาลทั้ง 62 คณะ ซึ่งในบทวิเคราะห์จะเปิดเผยให้เห็นถึงความสำคัญของการศึกษาในฐานะเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลที่ช่วยส่งเสริมและพัฒนาประเทศไปในทิศทางที่รัฐต้องการ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.