สร้างความพร้อม เสริมความสุขในรอยเชื่อมต่อจากระดับอนุบาลสู่ประถมศึกษา

Main Article Content

สิรินทร์ ลัดดากลม บุญเชิดชู

บทคัดย่อ

รอยเชื่อมต่อจากระดับอนุบาลสู่ประถมศึกษาเป็นช่วงเวลาที่สำคัญของเด็กในการเปลี่ยนผ่านการเรียนจากระดับอนุบาลสู่ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 นับเป็นรอยเชื่อมต่อทั้งในด้านพัฒนาการและสถานการณ์ของเด็กอายุ 6–7 ปี ที่มีการพัฒนาการทั้งในด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา กับสภาพแวดล้อมอันเป็นสถานการณ์ในการเรียนรู้แบบใหม่ รอยเชื่อมต่อจากระดับอนุบาลสู่ประถมศึกษาสามารถแบ่งออกเป็น 4 มิติ ประกอบด้วย มิติเชิงกระบวนการและผลลัพธ์ มิติเชิงสภาพแวดล้อม มิติเชิงประสบการณ์ และมิติเชิงเวลา โดยมีลักษณะของรอยเชื่อมต่อที่พิจารณาตามทฤษฎีในการศึกษาระดับสากล และประเภทของรอยเชื่อมต่อตามพัฒนาการและสถานการณ์ การสร้างรอยเชื่อมต่อดังกล่าว ผู้ที่มีความเกี่ยวข้องทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นครอบครัว หน่วยงานที่มีหน้าที่ในการพัฒนาเด็ก และโรงเรียน ล้วนมีบทบาทสำคัญในการสร้างความพร้อมและเสริมความสุข ด้วยการทำให้เกิดสภาพอันเหมาะสมของกิจกรรมให้บรรลุผลสำเร็จอย่างราบรื่น สอดคล้องกับพัฒนาการ ระดับวุฒิภาวะ การตอบสนองความต้องการทางด้านร่างกายและจิตใจ การสร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคม กิจกรรมที่สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก โดยแบ่งเป็นบทบาทร่วมของผู้ใหญ่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก บทบาทของครอบครัว และบทบาทของโรงเรียน แนวทางการสร้างความพร้อม เสริมความสุขในรอยเชื่อมต่อของเด็กอนุบาลสู่ระดับประถมศึกษา ต้องคำนึงถึง บริบท สภาพการณ์ เวลา ให้สอดคล้องกับเด็กแต่ละคน ประกอบด้วย 5 แนวทาง ได้แก่ 1) การสร้างความพร้อมให้กับเด็กก่อนเวลาของรอยเชื่อมต่อ 2) การออกแบบกิจกรรม สถานการณ์ และประสบการณ์ที่เหมาะสมกับเด็ก 3) การจัดกิจกรรมที่ตอบสนองพัฒนาการและการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น 4) การกำหนดกิจกรรม เวลา อย่างชัดเจนเป็นระบบ และ 5) บูรณาการการดำเนินการเพื่อเสริมสร้างพลังในการขับเคลื่อนการสร้างคุณภาพของเด็กอย่างเป็นองค์รวม

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Articles)