Active Learning : การจัดการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

กมล โพธิเย็น

บทคัดย่อ

Active Learning หรือการเรียนรู้เชิงรุก เป็นการจัดการเรียนรู้ที่สามารถตอบสนองต่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งจำเป็นที่จะต้องลดบทบาทของผู้สอน แต่เพิ่มบทบาทของผู้เรียนให้มากยิ่งขึ้น เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือทำและได้คิดในสิ่งที่ทำลงไปเพื่อเป็นการสร้างประสบการณ์ตรงให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียน โดยผู้เรียนจะมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและครูด้วยการลงมือทำกิจกรรมร่วมกันทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน จากนั้นก็สร้างองค์ความรู้ขึ้นจากสิ่งที่ได้ลงมือทำนั้นผ่านการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน การอภิปรายและการสะท้อนคิดเพื่อสร้างความหมายกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ Active Learning จะมีขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนด้วยกัน ได้แก่ ขั้นกระตุ้นความสนใจ ขั้นให้เห็นสถานการณ์ท้าทาย ขั้นอภิปรายสะท้อนความคิด ขั้นร่วมผลิตองค์ความรู้ และขั้นช่วยกันดูสะท้อนเรื่อง โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้อย่างหลากหลาย เช่น การอภิปรายกลุ่มย่อย การแสดงบทบาทสมมติ การแสดงละคร การใช้สถานการณ์จำลอง การใช้กรณีศึกษา การอ่านและการเขียนอย่างกระตือรือร้น การทำงานกลุ่มเล็กๆ และการใช้เกมเพื่อประกอบการจัดการเรียนรู้

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Articles)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2545). การศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ. กรุงเทพ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ. (2548). การเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www4.eduzones.com/images/blog/sasithep/File/activet.pdf.
ปราวีณญา สุวรรณโชติ. (2551). การเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.accademic.chula.ac.t/elearning/content/active%20learning-Praweenya.pdf.
ศักดา ไชกิจภิญญโญ. (2548). สอนอย่างไรให้ (Active Learning). วารสารนวัตกรรมการเรียนการสอน. ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2548) : 1.
ศิริพร มโนพิเชษฐวัฒนา. (2547). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบบูรณาการที่เน้นผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนที่กระตือรือร้น เรื่อง ร่างกายมนุษย์. ปริญญานิพนธ์การศึกษา ดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สัญญา ภัทรากร. (2542). ผลของการจัดการเรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวา ที่มีผลต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง ความน่าจะเป็น. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Bonwell, Chareles c., and James. A. Eison. (1991). Active Learning; Creating Excitement in the Classroom. ASHE-ERIC Higher Education Report No.1. Washington, D.C. The George Washington University, School of Education and Human Development.
Brandes D. & Ginnis, P.A. (1986). Guide to Student – Centred Learning. Basil Blackwell, Oxfort.
Mayers, C. and Jones, T. (1993). Promoting active learning: strategies for the college classroom. San Francisco: Jossey-Bass
Shenker, J.I., Goss, S.A. and Bernstein, D.A. (1996). Instructor,s Resource Manual for Psychology: Implementing Active Learning in the Classroom. [online]. Available: https://s.prych/uiuic.edu/~jskenker/active.html.
Silberman, M. (1966). Active Learning. Boston: Allyn and Bacon.