การให้การปรึกษาทางจิตวิทยา : เครื่องมือสำคัญในการแก้ปัญหาผู้เรียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การให้ความช่วยเหลือผู้เรียนเป็นภารกิจสำคัญของครูอีกประการหนึ่ง เนื่องจากผู้เรียนที่กำลังอยู่ในช่วงวัยรุ่นอาจประสบปัญหาต่างๆ ในชีวิตหลายด้าน เช่น ปัญหาครอบครัว ปัญหาการเรียน ปัญหาเรื่องเพื่อน เป็นต้น ด้วยประสบการณ์ของผู้เรียนที่ยังไม่มากพอจึงไม่สามารถจัดการหรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเองได้อย่างเหมาะสม ผู้เรียนจึงอาจจะต้องมีการขอความช่วยเหลือหรือคำแนะนำจากครูที่ไว้วางใจ และเชื่อมั่นว่าจะสามารถช่วยเหลือตนในการแก้ปัญหานั้นๆได้ แต่การให้การปรึกษาที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้นจำเป็นจะต้องอาศัยหลักการทางจิตวิทยาในการให้การปรึกษา โดยที่ครูซึ่งจะทำหน้าที่เป็นผู้ให้การปรึกษาจะต้องได้รับการฝึกฝนในระดับหนึ่งให้เป็นไปตามกระบวนการในการให้การปรึกษาที่ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนด้วยกัน ได้แก่ ขั้นการเริ่มต้นการให้การปรึกษา ขั้นสำรวจปัญหา ขั้นทำความเข้าใจปัญหา ขั้นการวางแผนและการกำหนดเป้าหมาย และขั้นยุติการให้การปรึกษา เพื่อใช้ในการพูดคุยกันระหว่างครูกับผู้เรียนในบรรยากาศที่เป็นกันเอง ก่อให้เกิดความรู้สึกสบายใจและอยากจะเปิดเผยเรื่องราวของตนให้ทราบมากที่สุดตามความเป็นจริง การให้การปรึกษาจำเป็นจะต้องใช้ทักษะการฟัง การถาม การสะท้อนความรู้สึก การทวนความ การให้กำลังใจ การให้ข้อสนเทศ และการสรุปความ ซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานในการให้การปรึกษา เพื่อพูดคุย ติดตาม เรื่องราวจากผู้ขอรับการปรึกษา เพื่อให้เกิดกระบวนการของการให้การปรึกษาในครั้งนั้นบรรลุเป้าหมายสำคัญคือ ผู้ขอรับการปรึกษาเกิดความรู้สึกผ่อนคลาย เกิดทัศนคติที่ดีในการดำเนินชีวิต และสามารถมองเห็นแนวทางในการรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนสามารถมองเห็นแนวทางและตัดสินใจแก้ปัญหาของตนเองได้ในที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
วัชรี ทรัพย์มี. (2533). ทฤษฎีและกระบวนการการให้บริการปรึกษา. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.
ศิริรัตน์ จำปีเรือง. (2533). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล แบบการเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต. 4 (วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ ฉบับที่ 2:21-28).
อาภา จันทรสกุล. (2533). ทฤษฎีและเทคนิคการปรึกษาในสถาบันการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
American Psychological Association. (1982). Thesaurus of psychology index terms (3rd ed.). Washington, DC Author.
American Counseling Association. (2020). Thesaurus of psychology index item (6th ed.). Washington, DC Author.