การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษาร่วมกับเทคนิคการสอนแบบ KWL PLUS วิชาภาษาไทย เรื่องการอ่านจับใจความ ที่มีต่อความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

กานต์พิชชา มะโน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินคุณภาพแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษาร่วมกับเทคนิคการสอนแบบ KWL PLUS 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษาร่วมกับเทคนิคการสอนแบบ KWL PLUS 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ก่อนและหลังเรียนด้วยแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษาร่วมกับเทคนิคการสอนแบบ KWL PLUS 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนด้วยแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษาร่วมกับเทคนิคการสอนแบบ KWL PLUS กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านโป่งเจ็ด จำนวน 15 คน ซึ่งได้จากวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) โดยวิธีการจับสลากให้โรงเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง  2) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษาร่วมกับเทคนิคการสอนแบบ KWL PLUS  3) แบบประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ 4) สื่อแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษาร่วมกับเทคนิคการสอนแบบ KWL PLUS 5) แบบประเมินคุณภาพสื่อแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษา 6) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ 7) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ 8) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-test แบบ Dependent 


ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพสื่อแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษา   ด้านการออกแบบ มีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.66 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.26 และด้านเนื้อหามีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.24  2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษาร่วมกับเทคนิคการสอนแบบ KWL PLUS หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ด้วยแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษาร่วมกับเทคนิคการสอนแบบ KWL PLUS หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า ด้านเนื้อหา ด้านสื่อแอปพลิเคชัน และด้านประโยชน์ที่ได้รับ มีคุณภาพโดยรวม ระดับดี

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

ภาษาไทย
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กิดานันท์ มลิทอง. (2539). เทคโนโลยีการศึกษาร่วมสมัย. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กิดานันท์ มลิทอง.เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์. 2540
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2549). การคิดเชิงวิเคราะห์ พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ซัคเซสมีเดีย.
กันนิกา ผิวอ่อนดี “การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาภาษาอังกฤษด้านการอ่านเพื่อความ เข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2548.
ครรชิต มาลัยวงศ์. (2540). นวัตกรรมทางเทคโนโลยีในทศวรรษ 2000. กรุงเทพมหานคร:
ซีเอ็ดยูเคชั่น.
จุไรรัตน์ลักษณะศิริและบาหยัน อิ่มสำราญ . (2553). การใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร
จำเนียร เล็กสุมา. (2552) “การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความส่งเสริม
คุณธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการ
สร้างแผนที่ความคิด.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
หลักสูตรและการนิเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ฉวีวรรณ คูหาภินันท์. (2542). การอ่านและการส่งเสริมการอ่าน. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.
ช่วงโชติ พันธุเวช. (2535). การออกแบบและการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์. กรุงเทพมหานคร:
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ชนาธิป พรกุล. (2551). การออกแบบการสอนการบูรณาการการอ่านคิดวิเคราะห์และการเขียน กรุงเทพฯ: บริษัทวี.พริ้นท์ (1991) จํากัด
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 6 นนทบุรี : พี บาลานซ์ดีไซด์แอนปริ้นติ้ง, 2558. 616 หน้า
ช่อบุญ จิรานุภาพ. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง การใช้บริการสารสนเทศห้องสมุด สำหรับนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 1. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. อัดสำเนา, 2542
บรรจง แสงนภาวรรณ.(2556). “การพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการประยุกต์ใช้เทคนิคการสอน KWL Plus” วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
บรรเทา กิตติศักดิ์. (2542). การอ่านและพิจารณาหนังสือ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช
พรทิพย์ วงศ์สินอุดม.(2558). “การพัฒนาแอปพลิเคชันบทเรียนคอมพิวเตอร์พกพา ร่วมกับการเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ร่วมกันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดเพชรบุรี” วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
พรพิมนต์ จ่างจิตร์. (2551). การพัฒนาหาประสิทธิภาพและ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เทคนิค STAD ของบทเรียนคอมพิวเตอร์แบบเกมการสอนรายวิชา ฮาร์ดแวร์และยูทิตี้เบื้องต้น. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ภาควิชา คอมพิวเตอร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
พรพิไล เลิศวิชา. มัลติมีเดียเทคโนโลยีกับโรงเรียนในศตวรรษที่ 21.พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ, กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม, 2544
พันธุ์ทิพา หลาบเลิศบุญ. (2542). ภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพฑูรย์ ศรีฟ้า. (2554). บทบาทของ Tablet กับเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก: http://www.drpaitoon.com/documents/Thaksin_University/ Open_World_Tablet.pdf. [24 มิถุนายน 2562].
สิรินันท์ กองลุน, อภิดา รุณวาทย์. (2559). การพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ นิทานอีสป 2 ภาษา.การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต.เทคโนโลยีการศึกษา.กรุงเทพมหานคร : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ, 2528
สุกรี รอดโพธิ์ทอง. และคนอื่น ๆ.ความรู้เกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา.กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ พัฒนาหนังสือกรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. คุรุสภาลาดพร้าว, 2544

ภาษาอังกฤษ
Ameloto G. Enriques Canada College Redwood City. CA Enhance StudentPerformance inUsing Tablet PCS. 2006 Availablefromhttp://www.tandfonline.com
Bandura, Albert. (1977). Social Learning Theory. Englewood Cliffs, N.J.:Prentice Hall.
Bloom, Benjamin S.ed. (1957). "Taxonomy of Education Objectives. Handbook : cognitive Domain”. Newyork : David Mckay Company Inc.
Bower. N.L. (2001). The Effect of Reading with a Partner and Participation in a Literature
Clark, Leonard H. (1970). Strategies and Tactics in Secondary School Teaching. London : Collier- Macmill Limited
El-Gayar, O. ; Moran, M. and Hawkes, M. (2011). Student’s Acceptance of Tablet PC
and Implications for Education. Retrieved from http://www.ifets.info/
journals/14.2/5.pdf
Freeman, Greg. Concept maps [Online]. Accessed 9 September 2019. Available from
http://www.users. Edte. Utwente/lanzing/em home.html
Good, Carter V.(1973). Dictionary of Education. New York : McGraw-Hill Company.
Levin, Tamar. (1980). Introduction which Enable Students to Develop Higher Mental Process. In
Mark Moran and Other. “Student’s Acceptance of Tablet PC and Implications for
Educational Institutions,” Educational Technology & Society. 14(2), 79-94,2011