การนำเสนอแนวทางการจัดกิจกรรมดนตรีแบบเรียนรวมเพื่อเสริมสร้างทักษะดนตรีด้านการฟังและการร้องสำหรับเด็กปฐมวัยในมูลนิธิสงเคราะห์เด็ก สภากาชาดไทย

Main Article Content

วิชิตา จันทร์แด่น

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดกิจกรรมดนตรีแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัยในมูลนิธิสงเคราะห์เด็กสภากาชาดไทย 2) เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมดนตรีแบบเรียนรวมที่เสริมสร้างทักษะดนตรีด้านการฟังและการร้องสำหรับเด็กปฐมวัยในมูลนิธิสงเคราะห์เด็ก สภากาชาดไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล มีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสังเกตพฤติกรรม โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักคือเด็กปฐมวัยในมูลนิธิสงเคราะห์เด็ก สภากาชาดไทยจำนวน 20 คนและครูประจำชั้นจำนวน 2 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าและการหาค่าเฉลี่ย


ผลการวิจัยสามารถแบ่งเป็น 2 ตอน คือ 1) แนวทางการจัดกิจกรรมดนตรีแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัยในมูลนิธิสงเคราะห์เด็กสภากาชาดไทยสามารถแบ่งเป็น 2 ด้านได้แก่ 1.แนวทางในการจัดการเรียนรู้และการดำเนินกิจกรรมซึ่งประกอบไปด้วยความถี่ในการจัดกิจกรรมดนตรี ลักษณะกิจกรรมดนตรี รูปแบบการจัดกิจกรรมดนตรี การเลือกเนื้อหา การจัดการชั้นเรียน และการประเมินตามสภาพจริง 2.แนวทางด้านการเลือกเนื้อหาดนตรีที่นำมาใช้เพื่อเสริมสร้างการฟังและการร้องสำหรับเด็กปฐมวัย 2) ผลการจัดกิจกรรมดนตรีแบบเรียนรวมที่เสริมสร้างทักษะดนตรีด้านการฟังและการร้องสำหรับเด็กปฐมวัยในมูลนิธิสงเคราะห์เด็กพบว่ากิจกรรมดนตรีที่เสริมสร้างทักษะดนตรีด้านการฟังมากที่สุดคือ กิจกรรมแม่ไก่ออกไข่วันละฟอง โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.6 คะแนน และกิจกรรมดนตรีที่เสริมสร้างทักษะดนตรีด้านการร้องมากที่สุดคือ กิจกรรมแม่ไก่ออกไข่วันละฟอง โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.25 คะแนน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2559). การเล่นของเด็กไทย. กรุงเทพฯ.
คณิต พรมนิล. (2561). การนำเสนอกิจกรรมดนตรีเพื่อส่งเสริมเจตคติทางดนตรีสำหรับเด็กด้อยโอกาส. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 13, 95-106.
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2541). เพลิน. กรุงเทพ: บริษัท พี. เพรส.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2561). ดนตรีศึกษา : หลักการและสาระสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 10 ed.). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดนีญา อุทัยสุข. (2556). เพลงช้างและเพลงแมงมุมลาย: การสืบทอดความนิยม ของบทเพลงสำหรับเด็ก. วารสารครุศาสตร์, 41(3), 160-172.
ดนีญา อุทัยสุข. (2561). สอนเด็กเล็กด้วยดนตรี. เอกสารประกอบการสอน. ภาควิชาศิลปะ ดนตรีและนาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร.
มูลนิธิสงเคราะห์เด็กของสภากาชาดไทย. (n.d.). งานพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิตเด็กปฐมวัย. Retrieved from https://trcch.redcross.or.th/
ศิริพร จินะณรงค์. (2558). การพัฒนาต้นแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกระบบสำหรับครูในมูลนิธิที่ดูแลเด็กด้อยโอกาส. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
Darrow, A.-A., & Adamek, M. (2018). Instructional Strategies for the Inclusive Music Classroom. General Music Today, 31(3), 61-65.
Gargiulo, R. M., & Metcalf, D. (2017). Teaching in Today’s Inclusive Classrooms: A Universal Design for Learning Approach. Boston, MA: Cengage Learning.
Goodkin, D. (2013). Play, Sing and Dance: An Introduction to Orff Schulwerk. United States: Schott Music Corporation.
Greenberg, M. (1979). Your Children Need Music. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.
Mittler, P. (2000). Working Toward Inclusive Education: Social Contexts. Great Britain: The Cromwell Press Ltd.
Sims, W. L. (1990). Sound approaches to elementary music listening. Music Educators Journal, 77(4), 38-42. doi:10.2307/3397880
UNESCO. (1994). The Salamanca Statement and Framework for Action on Special Needs Education. Paper presented at the World Conference on Special Needs Education: Access and Quality Spain.
Vanderspar, E. (1984). Principle and Guidelines for Teaching Eurhythmics. Launceston, Cornwall: Launceston Printing Company.
WHO. (n.d.). Early child development. Retrieved from https://www.who.int/topics/early-child-development/en/