ห้องเรียนเสมือนจริง

Main Article Content

ภวิสาณัชช์ ศรศิริวงศ์

บทคัดย่อ

ห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual Classroom) หมายถึง การใช้ซอฟต์แวร์จัดประสบการณ์เรียนรู้ที่ช่วยสนับสนุนผู้เรียน อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้และมีส่วนร่วม ผู้เรียนและผู้สอนสามารถเลือกสถานที่ ความสนใจและเวลาด้วยตนเองผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการร่วมกิจกรรมกลุ่ม กับผู้สอนหรือเพื่อน ๆ ร่วมชั้นได้เต็มที่ โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้องเรียนจริง ๆ ข้อจำกัดของห้องเรียนเสมือนจริง พบว่า อุปกรณ์และซอฟต์แวร์มีราคาแพง ความล่าช้าในการรอข้อมูลย้อนกลับ ผู้เรียนต้องใช้คอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี ปฏิสัมพันธ์การเรียนไม่มีความเป็นธรรมชาติและมีน้อยเกินไป และผู้เรียนขาดความรับผิดชอบในการเรียนด้วยตนเอง  ผู้สอนอาจใช้ซอฟต์แวร์ Second Life มาพัฒนาห้องเรียนเสมือนจริง ซึ่งเป็นโลกเสมือนบนอินเตอร์เน็ต สื่อสารและปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้อื่น ๆ การนำ ASSURE Model ซึ่งเป็นรูปแบบของการวางแผนหรือออกแบบการสอนโดยเน้นการใช้สื่อและเทคโนโลยีเป็นองค์ประกอบ และเน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ วิเคราะห์ผู้เรียน กำหนดวัตถุประสงค์ เลือกวิธีการ สื่อและวัสดุการเรียนการสอน นำวิธีการและสื่อวัสดุไปใช้ การมีส่วนร่วมของผู้เรียน และการประเมินการใช้สื่อ


 

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Articles)

References

กนกพรรณ กันทะจันทร์. (2554). The Assure Model การใช้สื่อการสอนอย่างเป็นระบบโดยใช้แบบจำลอง. เข้าถึงเมื่อ 5 ธันวาคม. เข้าถึงได้จาก http://52040337kanokphan.blogspot.com/2011/10/assure-model-assure-model-heinich.html
ครูบ้านนอกดอทคอม. (2552). ห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom). เข้าถึงเมื่อ 5 ธันวาคม. เข้าถึงได้จาก http://www.edu.chandra.ac.th
นภัสนันท์ สุวรรณวงศ์. (2559). “การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ เรื่องการออกแบบการเรียนการสอนและการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนเสมือนจริงบนคลาวด์คอมพิวติ้ง.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
รุ่งนภา ทัพชัย. (2556). Second Life. เข้าถึงเมื่อ 5 ธันวาคม. เข้าถึงได้จาก http:// http://06550140-01.blogspot.com/2013/01/normal-0-false-false-false-en-us-x-none.html
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2556). การจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต. เข้าถึงเมื่อ 5 ธันวาคม. เข้าถึงได้จาก http://www.learn.in.th/distance_edu
หริพล ธรรมนารักษ์ และปรัชญนันท์ นิลสุข, “M-Learning เครื่องมือสำหรับห้องเรียนเสมือนจริงแห่งอนาคต,” เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 5, 5 (2553): 3-10.