การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการพัฒนากรอบแนวคิดแบบเติบโต ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการพัฒนากรอบแนวคิดแบบเติบโต ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาจิตวิทยาเพื่อพัฒนาผู้เรียนก่อนและหลังด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการพัฒนากรอบแนวคิดแบบเติบโต 3)เพื่อเปรียบเทียบคะแนนชุดความคิดก่อนและหลังด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการพัฒนากรอบแนวคิดแบบเติบโต 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รายวิชาจิตวิทยาเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางการพัฒนากรอบแนวคิดแบบเติบโต กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาที่ศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2/2562 จำนวน 30 คน ได้มาโดย การสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการพัฒนากรอบแนวคิดแบบเติบโต 2) แบบวัดชุดความคิด 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ 4) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาจิตวิทยาเพื่อพัฒนาผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐาน ด้วยสถิติทดสอบ t-test
ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการพัฒนากรอบแนวคิดแบบเติบโต มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ คือ 79.21/73.55 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาจิตวิทยาเพื่อพัฒนาผู้เรียน ก่อนและหลัง พบว่า นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการเปรียบเทียบคะแนนชุดความคิดก่อนและหลัง พบว่า นักศึกษามีคะแนนชุดความคิดหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการพัฒนากรอบแนวคิดแบบเติบโต พบว่า ความคิดเห็นต่อภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชัชวาลย์ ศิลปะกิจ, อรวรรณ ศิลปะกิจ และรสสุคนธ์ ชมชื่น. (2558). ความตรงของแบบวัดชุดความคิด. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย: 23(3), 166-174.
บังอร เสรีรัตน์. (2560). การพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมชุดความคิดเกี่ยวกับการ สอนของครูประถมศึกษา. Sripatum Review of Humanities and Social Sciences, 17(1), 115-122.
ปวีณา อ่อนใจเอื้อ. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างกรอบความคิดแบบเจริญเติบโตของนิสิต สาขาวิชาชีพครู. Journal of Industrial Education, 18(2), 21-30.
ปัทมาภรณ์ ศรีราษฎร์และพฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2562). ความต้องการจำเป็นในการพัฒนากรอบความคิดแบบ เติบโตของครู. Educational Management and Innovation Journal, 2(2), 20-35.
พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา (2562). ราชกิจจานุเบกษาข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วย มาตรฐาน วิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2556. เล่ม 136 ตอนพิเศษ 68 ง. หน้า 18-20.
พวงชมพู โจนส์. (2559). การสร้างกระบวนการทางความคิด (Mindset) สำหรับบุคลากรใน สถาบันการศึกษา ระดับอุดมศึกษา. วารสารธุรกิจปริทัศน์: 8(1), 1-9.
มติชนออนไลน์ (2559). ไม่อยากเตะฝุ่น…อ่านด่วน 7 ทักษะ บัณฑิตใหม่ต้องมี. สืบค้น 18 มีนาคม 2562. จาก https://www.matichon.co.th/education/news_76605.
มุทิตา อดทนและคณะ. (2561). ผลของโปรแกรมการพัฒนากรอบความคิดเติบโตในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอน ปลาย. Journal of Educational Measurement Mahasarakham University, 24(2), 182-194.
ศูนย์จิตวิทยาการศึกษา มูลนิธิยุวสถิรคุณ. (2562). การพัฒนากรอบแนวคิด. สืบค้น 18 มีนาคม 2562. จาก http://www.cepthailand.org/private_folder/e-book/KranPhantana_Growth_Mindset.pdf.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวง. (2560). Growth Mindset กับการปฏิรูป การศึกษา. สืบค้น 20 มีนาคม 2562. จาก http://www.moe.go.th.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). ข้อค้นพบจาก PISA 2018 เกี่ยวกับกรอบแนวคิด แบบ เติบโต (Growth Mindset). สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2563. จาก https://library.ipst.ac.th.
สยามรัฐออนไลน์. (2561). มทส.ชู“Mindset+IPE” ปฏิรูปการสอนสร้าง "บัณฑิตแพทย์ – ทันตแพทย์" เลือดใหม่. สืบค้น 25 เมษายน 2562, จาก https://siamrath.co.th/n/52236 .
Auten, Marianne Adams. (2011). Helping Educators Foster a Growth Mindset in Community College Classrooms. Walden Dissertations and Doctoral Studies. https://scholarworks.waldenu.edu/dissertations/1073.
Carpenter, L. (2018). Feedback and Growth Mindset: Nurturing a Growth Mindset Through Feedback with Middle School Students. Master of Education Program Theses. 123.
https://digitalcollections.dordt.edu/med_theses/123.
Christina Gil. (2016). Teachers Need a Growth Mindset Too. Retrived April 24, 2019 from: https://www.edutopia.org/article/teachers-need-growth-mindset-christina-gil.
Dweck, C. S. (2006). เปลี่ยน MINDSET ชีวิตเปลี่ยน. แปลโดย วิโรจน์ ประสิทธิ์วรนันท์. กรุงเทพฯ. อี.ไอ.ส แควร์.
Dweck, C. S. (2012). Mindsets and Human Nature: Promoting Change in the Middle East, the Schoolyard, the Racial Divide, and Willpower. American Psychologist, 67(8) : 614-622.
Judd, F. (2017). Growth Mindset and Adult Learners in Higher Education. In Global Conference on Education and Research (GLOCER 2017) (Vol. 5).
Linda Crawford and Christopher Hagedorn. (2009). Classroom Discipline. Midwest Independent Publishers Association. The Origins Program, 2009, 304 pages, soft cover ISBN: 978-0-938541-13-4.
Rhew, E., Piro, J. S., Goolkasian, P., & Cosentino, P. (2018). The effects of a growth mindset on self- efficacy and motivation. Cogent Education, 5(1), 1492337.
Susannah Bedford. (2016). Growth mindset and motivation: a study into secondary school science learning. Journal Research Papers in Education Volume 32, 2017 - Issue 4 Pages 424-443.