การพัฒนาความสามารถในการให้เหตุผล และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคเพื่อนคู่คิด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

Kunyanut Junkhum
กัญญาณัฐ จันทร์ขำ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิด ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียน หลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิด เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70  3) ศึกษาความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียน หลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิดเทียบกับระดับคุณภาพ  และ 4) ศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียน หลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิด


กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 66 คน ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1


ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ แบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test  แบบ dependent ได้ผลการวิจัย ดังนี้


  1. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิด มีคะแนนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทีระดับ .05

  1. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิด มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 74.24 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  1. นักเรียนมีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์โดยภาพอยู่ในระดับดี

  2. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิด (Think – Pair - Share) โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี

 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)