แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ กับการตระหนักรู้ทางภาษาอย่างมีวิจารณญาณ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การตระหนักรู้ทางภาษาอย่างมีวิจารณญาณมีบทบาทสำคัญในการช่วยผู้ใช้ภาษาสามารถเข้าใจและมีการไตร่ตรองข้อมูลภาษาก่อนการปฏิบัติที่จะสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมที่แสดงออกมาผ่านการขยายอิทธิพลทางภาษา ดังนั้นในชั้นเรียนวิชาภาษาไทย จึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาการตระหนักรู้ทางภาษาอย่างมีวิจารณญาณให้กับนักเรียน ซึ่งแนวทางที่สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาและสอดคล้องกับการตระหนักรู้ทางภาษาอย่างมีวิจารณญาณคือ การใช้กระบวนการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ซึ่งสามารถสรุปแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้การอ่านอย่างมีวิจารณญาณกับการตระหนักรู้ทางภาษาอย่างมีวิจารณญาณได้ดังนี้ หลักการของกระบวนการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1) อ่านบทความและทำความเข้าใจเนื้อความที่ได้อ่านพร้อมทั้งระบุทัศนคติหรือแนวความคิดของผู้เขียนจากมุมของตนเอง 2) ทำความเข้าใจ คำศัพท์และการใช้ภาษา เพื่อแสดงแนวคิดสำคัญที่ผู้เขียนต้องการนำเสนออย่างลึกซึ้ง 3) การตอบสนองเชิงวิพากษ์ของผู้อ่านที่มีต่อการใช้ภาษาและแนวคิดทางด้านภาษาของผู้เขียนในบทความ 4) ผู้อ่านตีความบทความจากทัศนะมุมมองใหม่ การระบุแนวความคิดและการขยายความพฤติกรรมจากเนื้อหาในบทความ โดยสามารถพัฒนาเป็นขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้ มี 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นสำรวจบทความ 2) ขั้นระบุปัญหา 3) ขั้นวิเคราะห์พฤติกรรมเพื่อการขยายความ 4) ขั้นตรวจสอบและประเมินข้อโต้แย้ง 5) ขั้นทำความเข้าใจและสร้างมโนทัศน์สำคัญ 6) ขั้นการสะท้อนคิดในบทความ จากการศึกษาพบว่าแนวทางการใช้กระบวนการอ่านอย่างมีวิจารณญาณสามารถส่งเสริมการตระหนักรู้ทางภาษาอย่างมีวิจารณญาณได้ครบทุกความสามารถย่อยที่สำคัญ
Article Details
References
Fairclough, N. (1989). Language and power. New York: Longman.
Fairclough, N. (1992). Introduction. In N. Fairclough (Ed.), Critical language awareness (pp.
1 – 29). London: Longman.
Huh, S. (2016). Instructional Model of Critical Literacy in an EFL Context: Balancing
Conventional and Critical Literacy. Critical Inquiry in Language Studies, 13(3), 210 – 235, doi: 10.1080/15427587.2016.1154445
McLaughlin, M. & DeVoogd, G. (2004). Critical literacy: Enhancing students’
Comprehension of text. New York: Scholastic.
Moumou, Margaret. (2004). Preparing our students for the future: Critical literacy in the
Seychells classrooms. English Teaching: Practice and Critique, 3(1), 46 – 58.
O’Hallaron, C.L., Palincsar, A.S., & Schleppegrell, M.J. (2015). Reading science: Using
systemic functional linguistics to support critical language awareness. Linguistics
and Education, 32, 55 – 67, doi:10.1016/j.linged.2015.02.002
Sultan, Rofiuddin, A., Nurhadi, & Priyatni, E.T. (2016). Critical responses to texts: Reading
Behaviors of university students in Indonesian learning context. Paper presented at the Fourth International Conference on Language, Society, and Culture in Asian Contexts, Malang, Indonesia.
Wallace, C. (1998). Critical language Awareness in foreign language classroom
(Unpublished doctoral dissertation). Institute of Education, University of London.
Retrieved from http://eprints.ioe.ac.uk/7455/