The แนวทางการส่งเสริมการเตรียมบุคคลออทิสติกเข้าสู่อาชีพโดยความร่วมมือระหว่างครอบครัว องค์กร และชุมชน

Main Article Content

อมรทิพย์ สันตวิริยะพันธ์ุ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการของครอบครัว องค์กร และชุมชนในการส่งเสริมการเตรียมบุคคลออทิสติกเข้าสู่อาชีพ และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการส่งเสริมการเตรียมบุคคลออทิสติกเข้าสู่อาชีพโดยความร่วมมือระหว่างครอบครัว องค์กร และชุมชน กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยผู้แทนจากครอบครัว องค์กร และชุมชน จำนวน 30 คน และกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิที่เข้าร่วมประชุมสนทนากลุ่ม จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา


          ผลการวิจัย พบว่า ครอบครัว องค์กร และชุมชนยังไม่เห็นความสำคัญและไม่มีโอกาสเข้าร่วมในการส่งเสริมการเตรียมบุคคลออทิสติกเข้าสู่อาชีพ  โดยครอบครัว องค์กร และชุมชนต้องการให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเตรียมบุคคลออทิสติกเข้าสู่อาชีพ สำหรับแนวทางการส่งเสริมการเตรียมบุคคลออทิสติกเข้าสู่อาชีพโดยความร่วมมือระหว่างครอบครัว องค์กร และชุมชน ประกอบด้วย 4 แนวทาง ได้แก่ 1) ร่วมกันวางแผน 2) ร่วมกันปฏิบัติ 3) ร่วมกันเรียนรู้ และ 4) ร่วมกันประเมินผล

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2547). ปฏิรูปการศึกษายุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กลุ่มงานศึกษาสําหรับคนพิการ. (2550). แนวทางการปฏิบัติงานของศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
เจษฎา โชคดำรงสุข. (2557, 2 เมษายน 2557). “Autism and work together we can” เปลี่ยนออทิสติกจาก “ภาระ” ให้เป็น “พลัง”. Paper presented at the World Autism Awareness Day 2014, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน.
นฤมล ขวัญคีรี. (2541). การศึกษาบทบาทของผู้ปกครองในการให้ความช่วยเหลือตั้งแต่ระยะแรกเริ่มแก่เด็กออทิสติกระดับปฐมวัยในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประไพพักตร์ ทัตสอย. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมดูแลบุตรของผู้ปกครองที่มีบุตรเป็น Autistic ศึกษาเฉพาะกรณีสถาบันพัฒนาการ เขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาครูการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ภัทราภรณ์ ทุ่งปันคำ และคนึงนิจ ไชยลังการณ์. (2546). ประสบการณ์การดูแล ปัญหา และความต้องการการช่วยเหลือในการดูแลเด็กออทิสติก. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร.
สมจิต พี่พิมาย. (2547). ความพร้อมของผู้ปกครองในการดูแลเด็กออทิสติก. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสุขภาพจติและการพยาบาลจิตเวช บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมชาย เจริญอำนวยสุข. (2559). การจัดตั้งเครือข่าย JOB Coach Thailand. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม, 2559, from http://www.csrcom.com/news_show.php?id_show=463.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2546). แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ: การเรียนรู้แบบ ใช้ปัญหาเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ. (2552a). คนพิการกับสิทธิตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities- CRPD) สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน, 2558, from http://www.sedthailand.com/images/introc_1293368920/05.pdf.
สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ. (2556). พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
สถาบันราชานุกูล. (2557). เด็กออทิสติกคู่มือสำหรับครู. กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร.
สุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ (2559). การจัดตั้งเครือข่าย JOB Coach Thailand. สืบคันวันที่ 18 พฤษภาคม, 2559, from http://www.csrcom.com/news_show.php?id_show=463.
สุวภา จรดล และโชคชัย สุธาเวศ. (2556). การจัดบริการด้านการจ้างงานของรัฐแก่คนพิการ. วิทยบริการ, 29 (ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2556), 18-32.
อัญชลี สารรัตนะ, พัชรี จันทร์เพ็ง, ปวีร์ ศิริรักษ์ และสิรินันท์ สุรไพฑูรย์ แซ่ผุง. (2559). สภาพปัจจุบัน ความต้องการด้านอาชีพของผู้พิการและกรณีศึกษาบุคคลออทิสติก. วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ. วารสารปีที่ 12 มกราคม - ธันวาคม 2559.