M-Learning : A new Mobile Learning and Teaching Method in 21st Century

Main Article Content

Pisit Tangpondparsert

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการศึกษา ค้นคว้า จากหนังสือ ตำรา เอกสาร ว่าด้วยเรื่อง ทัศนะการเรียนการสอนด้วยระบบ M-Learningต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 ว่ามีความสำคัญและเหมาะสมกับช่วงเวลาแห่งความเจริญพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็วและมีความสัมพันธ์ตรงกับการเรียนการสอนในปัจจุบันบทเรียนแบบM-Learning จึงเป็นอีกบทบาทหนึ่งที่สำคัญของต้นคริสต์ศตวรรษที่21 เป็นบทเรียนสำเร็จรูป (Instruction Package) ที่เรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีไร้สายและเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ถือว่าเป็นทางเลือกใหม่ของวงการศึกษา ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ผ่านโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์แบบพกพา แท็บเล็ต พีซี ฯลฯ แทนที่จะศึกษาผ่านจอภาพของไมโครคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา ฯลฯ อุปกรณ์เคลื่อนที่ดังกล่าวจึงมีความเป็นอิสระในตัว ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ที่ไหนก็ได้ มีระบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน เพื่อน ครูผู้สอน สามารถสนทนาในช่วงเวลาจริง ใช้พื้นที่ในการเรียนรู้น้อย มีระบบการรู้จำลายมือ เซ็นชื่อ โน้ตย่อ ฯลฯ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาสภาพความพร้อมของการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ M-Learning จึงตอบโจทย์เหล่านั้นได้เป็นอย่างดี              


               ปัจจุบันโทรศัพท์มือถือมีอัตราการใช้สูงขึ้นทุกปี มากกว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหลายเท่า จึงเป็นสาเหตุทำให้นักการศึกษาหันมาสนใจระบบการเรียนการสอนแบบ M-Learning ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงมากกว่าการเรียนผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศเดิม อาทิ การเรียนรู้แบบ E-Learningฯลฯ เพราะมนุษย์มีอุปกรณ์สื่อสารแบบพกพาติดตัวไปทุกสถานที่ ผสานกับเทคโนโลยีสารสนเทศการรับส่งข้อมูลระบบไร้สาย จึงนับว่าเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาอันสำคัญอีกช่องทางหนึ่งของการเรียนรู้คู่สังคมไทย

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Articles)

References

Euajarsuphan, A. (2018) “Media Usage Behavior by Generation X and Generation Y” The Journal of
Social Communication Innovation. 1(11) : 59-65.
อดิพล เอื้อจรัสพันธุ์ (2561). “พฤติกรรมการใช้สื่อของกลุ่มเจ็นเนอเรชั่น เอ็กซ์ และ เจ็นเนอเรชั่น วาย” .วารสารวิชา
การนวัตกรรมสื่อสารสังคม 1(11) : 59-65.
Keawkiriya, T. (2010). “E-learning Move to M-Learning in Society Ages of Borderless
communication” Rom Phruek Journal 28(1) : 112-135.
(2015). “Mobile Learning Mile Stone of Education New Ages” Modern Innovation Journal.
1(9) : 9-10.
ธงชัย แก้วกิริยา (2553). “E-Learning ก้าวไปสู่ M-Learning ในยุคสังคมของการสื่อสารไร้พรมแดน” .วารสาร
ร่มพฤษ์. 28(1) : 112-135.
(2558). “Mobile Learning ก้าวสำคัญของการศึกษายุคใหม่” วาสาร Modern Innovation. 1(9) : 9-10.
KoshipRak, S. (2016). “Form Electronic-learning to Ubiquitus-learning” . Electronic-learning to
Ubiquitus-Learning.
(2558). “M-Learning”. Academic Journal Bangkokthonburi University 3(2) : 32-42.
สาโรช โศภีรักข์ (2559). “จาก Electronic-learning สู่ Ubiquitus-learning” . Electronic-learning to
Ubiquitus-Learning.
(2558). “M-Learning”. Academic Journal Bangkokthonburi University 3(2) : 32-42.
Malisuwan, S.(2018). “5G Wave&Technology” National Broadcasting and Telecommunication
Commission Journal 61(1) : 1-7.
เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ (2561). “5G: คลื่นและเทคโนโลยี” .วารสาร กสทช. ไตรมาส (1) : 1-7.
Viphatphumiprathes, T. (2016) “In-Class Smartphone Usage Behaviors Among Dhurakij Pundit
University Students” Suthiparithat Journal 30(95) : 48-58.
ธัญธัช วิภัติภูมิประเทศ. (2559). “พฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนในชั้นเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์” .
วารสารสุทธิปริทัศน์ 30(95) : 48-58.
Worapitbenja, P., Klinhnu. J., Srisom N.,(2015). “The Development Learing Managements System
Application of Virtual Classrooms on Mobile Device” Industrial Technology Lampang
Pajabhat University Journal. 8(2) : 58-67.
ภาณุวัตน์ วรพิทย์เบญจา,จำรัส กลิ่นหนู และณรงค์ศักดิ์ ศรีสม.(2558). “การพัฒนาแอพพลิเคชั่นการจัดการเรียน
การสอนในห้องเรียนเสมือนจริงบนอุปกรณ์เคลื่อนที่” .วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง 8(2) : 58-67.

ภาษาต่างประเทศ
Bruckner, Michael. (2015). “M-Learning” . Educational Technology. Naresuan University Publishing.
Graça Magro, Joaquim Ramos de Carvalho and Maria Jose Marcelino (2014). “MOBILE LEARNING
AND EARLY AGE MATHEMATICS” 10th International Conference Mobile Learning 2014 : (34-40)
Shir Peled and Shimon Schocken. (2014). “MOBILE LEARNING AND EARLY AGE MATHEMATICS”
10th International Conference Mobile Learning 2014 : 19-25