การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ เทคนิค KWDL ร่วมกับแนวคิด Flipped Classroom เพื่อเสริมสร้างความสามารถ ในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL ร่วมกับแนวคิด Flipped Classroom ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL ร่วมกับแนวคิด Flipped Classroom ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3.) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนและหลังการเรียนรู้ โดยการใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL ร่วมกับแนวคิด Flipped Classroom เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 4) เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียน โดยการใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL ร่วมกับแนวคิด Flipped Classroom เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 5) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนต่อแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL ร่วมกับแนวคิด Flipped Classroom กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร (ปฐมวัยและประถมศึกษา) จำนวน 1 ห้องเรียน โดยได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยการจับสลากห้องเรียน ทั้งนี้ได้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนห้องร่มไทร จำนวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บวก ลบ คูณ หาร สราญสุข 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL ร่วมกับแนวคิด Flipped Classroom เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประกอบด้วย แผนปฐมนิเทศ จำนวน 1 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง และ สรุปเนื้อหา จำนวน 1 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง รวมทั้งหมด 18 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา 5) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่า t-test แบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนและครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เห็นความสำคัญต่อการใช้แบบฝึกทักษะ ประกอบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิค KWDL ร่วมกับแนวคิด Flipped Classroom เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประกอบด้วย ชื่อเรื่อง คำนำ สารบัญ คำชี้แจง คำแนะนำในการใช้แบบฝึกทักษะ จุดประสงค์การทำแบบฝึกทักษะ แบบทดสอบก่อนเรียน แบบฝึกทักษะ แบบทดสอบหลังเรียน แบบประเมินความสามารถในการแก้ปัญหา เฉลย และบรรณานุกรม 2) แบบฝึกทักษะ วิชาคณิตศาสตร์ ประสิทธิภาพ 82.46/80.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ มาตรฐาน 80/80 3) ผลการเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ ก่อนและหลังใช้แบบฝึกทักษะ พบว่าผลการเรียนรู้หลังใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ความสามารถในการแก้ปัญหาหลังใช้แบบฝึกทักษะ พบว่า ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนอยู่ในระดับดี 5) ความคิดเห็นของนักเรียนต่อแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ พบว่า ความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า นักเรียนเห็นด้วยในระดับมากทุกด้าน
Article Details
References
Ministry of Education. (2005). Production and use of Insruction media. Bangkok.
กระทรวงศึกษาธกิาร. (2548). การผลิตและการใชสื่อการสอน. กรุงเทพมหานคร.
______. (2008). The Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008). Bangkok: Khurusapha Printing.
______. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพคุรุสภา.
Rattanawong, K. (2013). Comparisons of Learning Outcomes of Prathomsuksa 2 Students Who Learned Using the KWDL and Conventional Learning Managements Entitled the Division. Master thesis Program in Curriculum and Instruction Graduate School, Mahasarakham University.
กาญจนา รัตนวงศ์ (2556). “การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ เรื่อง การหาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบ KWDL กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ” วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษา ศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Jetdu, N. (2012). The Development of Supplementary Summary Writting Skill by Using Local Information of Thaisongdum in Khaoyoi, Phetchaburi for The Eighth Grade Students.Master thesis Program in Curriculum and Supervision Graduate School, Silpakorn University.
เนาวรัตน์ เจตดุ (2555). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสรุปความโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น ไทยทรงดำ อําเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษา ศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Cheaweerachon, P.(2010). The Development of Mathematics Skill Drillson Word Problem of Fractions for Mathayomsuaksa 1 Students. Master thesis Program in Education Research and Evaluation, Naresuan University.
พรพรรษา เชื้อวีระชน (2553). การพัฒนาแบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องโจทย์ปัญหาเศษส่วน สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิจัยและประเมินผล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Nillapun, M. (2014). Research Methodology in Education. 7th ed. Nakhonpathom: Silpakorn University Printing.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2557). วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 7. นครปฐม : ศูนย์วิจัยและพัฒนาทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Laoriandi, W. (2012). Thinking Skills Instructional Models and Strategies. Nakhonpathom: Silpakorn University Printing.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2555). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. นครปฐม : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST). (2015). Mathematics measurement and evaluation. Bangkok: The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2558). คู่มือวัดผลประเมินผลคณิตศาสตร์กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
Rengrad, A.(2014). The Development of Exercise in Mathematic on Application 1 by Using Problem Based Learning for Enhancing Problem Solving Ability for The Students in Seventh Grade. Master thesis Program in Curriculum and Supervision Graduate School, Silpakorn University.
อนุรักษ์ เร่งรัด. (2557). “ พัฒนาแบบฝึกทักษะ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการประยุกต์ 1 โดยใช้การ จัดการเรียนรู้ แบบปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา สําหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1” วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา หลักสูตรและการนิเทศ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Prungwanichpong, U.(2008). The development of reading exercises by using the active reading comprehension activity for Mathayomsuksa four students of Rachinee Burana School Nakhon Pathom. Master thesis Program in Curriculum and Instruction Graduate School, Silpakorn University.
อุบลวรรณ ปรุงวนิชพงษ์ (2551). “การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้กิจกรรม อ่านให้คล่อง สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนราชินีบูรณะ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม” วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ภาษาต่างประเทศ
Jeremy F. Strayer. (2007).The Effects of The Classroom Flip on The Learning Environment:A Comparison Oflearningactivity in A Traditional Classroom And A Flip Classroom That Used an Intelligent Tutoring System. A thesis submitted to the Degree Doctor of Philosophy in the Graduate School of The Ohio State University
Jonathan Bergmann and Aaron Sams. (2012). Flipped Your Classroom Reach Every Student in Every Class Every Day TechnologyCoordinators. curriculum specialists, policy makers.
Walton, H.J. & Matthews,M.B. (1989).Essentials of Problem-Based Learning. Medical Education.