การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TAI เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้เรื่องการบวก และการลบเลข ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TAI 2) การพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TAI 3) การทดลองใช้ชุดกิจกรรมร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TAI 4) การประเมินและปรับปรุงชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TAI เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้เรื่องการบวกและการลบเลข ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า นักเรียนและผู้เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญและต้องการให้มีการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TAI 2) ผลการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้พบว่า ได้ชุดกิจกรรมจำนวน 2 ชุด คือ ฝึกบวกแสนสุข และ สนุกลบพาเพลิน 3) ผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรม พบว่า ชุดกิจกรรมมีประสิทธิภาพ 83.00 / 81.50 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 4) ผลการประเมินและปรับปรุงแก้ไขชุดกิจกรรม พบว่า 4.1) นักเรียนมีผลการเรียนรู้เรื่องการบวกและการลบเลขหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4.2) นักเรียนมีผลการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนมากกว่าร้อยละ 40 4.3) นักเรียนมีผลการเรียนรู้หลังใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าร้อยละ 80 โดยมีคะแนนหลังเรียนเท่ากับ 81.50 4.4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก
Article Details
References
การบูรณาการ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา กรมการศาสนา.
กรมวิชาการ. (2546). แนวทางการประเมินผลด้วยทางเลือกใหม่. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). เส้นทางสู่ความสำเร็จของารปฏิรูปการศึกษาไทย.
แนวทางการ ดำเนินงานการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม
สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กชกร พัฒเสมา. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคนสำหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
ชมัยพร พุทธิวาณิชย์. (2553) การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2523). นวัตกรรมทางการศึกษา, ใน เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อการศึกษา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรมาธิราช.
________ (2531). ชุดการสอนระดับประถมศึกษา. (เอกสารประกอบคำสอน). กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.
ธีระชัย ปูรณโชติ. (2532). การสร้างผลงานทางวิชาการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นงเยาว์ ศรีทอง. (2553). ผลการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยการเรียนรู้แบบ
ร่วมมือเทคนิค TAI. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2545). นวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชัย วงษ์ใหญ่ (2525). พัฒนาหลักสูตรและการสอน-มิติใหม่ พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
วีณารัตน์ ราศิริ. (2552). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ในการแก้โจทย์ปัญหา
คณิตศาสตร์ และความพึงพอใจต่อการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2.
วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. (2559). การจัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล. วารสารศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร 13(2) : 65-75.
สลาย ปลั่งกลาง. (2552). ผลการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI
เรื่อง การบวก และการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์
ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุดาวรรณ ขาวปั้น. (2551). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการคูณ โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่ม
ร่วมมือด้วยเทคนิค TAI ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษา มหาบัณฑิต สาขาวิชา
หลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุนันทา สุนทรประเสริฐ. (2545). การผลิตชุดการสอน. ชัยนาท : ชมรมพัฒนาความรู้ด้านระเบียบกฎหมาย.
ใสหน๊ะ ตาเฮร์. (2553). การพัฒนาชุดกิจกรรมค่ายคณิตศาสตร์ สำหรับพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา
คณิตศาสตร์ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนแสงธรรมวิทยามูลนิธิ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา.
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการวิจัยและประเมิน มหาวิทยาลัยทักษิณ
อติยศ สรรคบุรานุรักษ์ และศศิณัฏฐ์ สรรคบุรานุรักษ์. (2557) การจัดการเรียนการสอนที่เน้นความแตกต่างระหว่าง
บุคคล วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 12(1,2) : 39-48.
อำไพ วรรณขามป้อม. (2554) การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI กลุ่มสาระ
การเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่3. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต
สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Good, C. V. (1973). “Dictionary of Education”. New York : McGraw – Hill.
Johnson, D.W.,and R.T.Johnson. (1987). “Lerning Together and Alone”. Englewood Cliffs, N.J.:
Prentice-Hall.
Slavin, Robert E. (1987). “Cooperative Learning and Coopertive,” School Educational” 24(2) : 1024 ;
November.
________ (1995). “Cooperative Learning”. 2nd ed. London : Allyn and Bacon,