รายงานการประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต กศ.บ.5 ปี (สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา)

Main Article Content

แจ่มจันทร์ ศรีอรุณรัศมี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหมาะสมของหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ. 5 ปี) สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา ด้านจุดมุ่งหมายโครงสร้างหลักสูตรและรายวิชา ดังนี้ 1) เพื่อศึกษา ความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชาที่มีต่อการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษา ตามหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา 2) ศึกษาปัญหา อุปสรรคในการบริหารจัดการหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ. 5 ปี) สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและ 3) เพื่อพัฒนาและนำเสนอหลักสูตรใหม่ให้เหมาะสมกับความ ต้องการของตลาดแรงงานและสอดคล้องกับยุคสมัยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ได้แก่ คณะกรรมการ บริหารหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ. 5 ปี) สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีการศึกษา 2559 จำนวน 10 คน บัณฑิตศึกษาที่สำเร็จตามหลักสูตรการ ศึกษาบัณฑิต (กศ.บ. 5 ปี) สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ รุ่นที่ 1-5 จำนวน 25 คนผู้บังคับบัญชาของบัณฑิตที่สำเร็จตามหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ. 5 ปี) สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ รุ่นที่ 1- 5 จำนวน 25 คนนิสิตปัจจุบันที่กำลังศึกษาอยู่ในหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ. 5 ปี) สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 30 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 4 ฉบับ ประกอบด้วย 1) แบบสอบถาม ผู้บังคับบัญชาของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา2) แบบสอบถามความคิดเห็นของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนิสิตปัจจุบันสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ผลวิจัย พบว่าค่าร้อยละและจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิง มากที่สุด ร้อยละ 68.83 เพศชายร้อยละ 31.17ค่าร้อยละและจำนวนการมีงานทำหลังจบการศึกษาของนิสิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษาพบว่า จำนวนการมีงานทำงานนิสิตหลังจบการศึกษามีงานทำ ร้อยละ 93.50 และไม่มีงานทำ ร้อยละ 6.50 ค่าร้อยละและจำนวนของนิสิตสาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษาจำแนกตามตำแหน่งงานที่ทำ หลังจบการศึกษาพบว่า นิสิตที่จะการศึกษาทำงานตำแหน่งครูคอมพิวเตอร์มากที่สุด ร้อยละ 84.42 ลำดับรอง ลงมาได้แก่ ครูโสตทัศนศึกษา ร้อยละ 10.39 และตำแหน่งอื่น ๆ ร้อยละ 5.19 ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อ หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ. 5 ปี) สาขาวิขาเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษาพบว่า หลักสูตรที่เปิดสอนใน ปัจจุบันส่งเสริมให้นิสิตมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน มีกิจกรรมเสริมหลักสูตรของสาขาวิชา และมีความ เหมาะสมของรายวิชาตามหลักสูตรอยู่ในระดับดีมาก หลักสูตรมีความทันสมัยระดับดี และหลักสูตรมีความ สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในระดับปานกลาง ความสอดคล้องของหลักสูตรกับการฝึกสอนในปัจจุบันพบว่า หลักสูตรที่เปิดสอนในปัจจุบันในวิชา ทางด้านเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษามีการใช้งานตรงกับวิชาที่ฝึกสอนร้อยละ 85.37 (มากที่สุด) และในวิชา ด้านคอมพิวเตอร์ ร้อยละ 14.63 (น้อยที่สุด) นอกจากนี้จากข้อคิดเห็นของนิสิตที่ฝึกสอนในปัจจุบันพบว่า วิชาส่วนใหญ่ที่ได้รับมอบหมายให้สอน ขณะฝึกสอนเป็นวิชาทางด้านคอมพิวเตอร์ได้แก่ การเขียนโปรแกรมภาษาซี การเขียนโปรแกรม PHP การเขียนโปรแกรมภาษา HTML การเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์ การเขียนโปรแกรมจาวาการเขียนโปรแกรมเพื่อ พัฒนาเว็บ วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ การตัดต่อวิดีโอ การสร้างภาพเคลื่อนไหว อุปกรณ์ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ และเรื่องระบบเน็ตเวิร์ก เครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งเนื้อหาในรายวิชาส่วนใหญ่เป็นวิชาคอมพิวเตอร์ ทำให้นิสิตมี ปัญหาด้านความเชี่ยวชาญเนื้อหาและทักษะในการฝึกสอนในรายวิชาดังกล่าว

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)