แนวทางการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในการบริหาร การเงินส่วนบุคคลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 2

Main Article Content

นิรา ขุนทองชมาตย์
นพพร จันทรนำชู

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการณ์รายได้ รายจ่าย เงินออม สินทรัพย์ หนี้สิน 2) ระดับการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารการเงินส่วนบุคคล 3) เปรียบเทียบระดับ การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการบริหารการเงินส่วนบุคคล จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 4) แนวทางการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารการเงินส่วนบุคคลของครูสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 2 ตัวอย่างคือครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 2 จำนวน 350 คน จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นและสุ่มตัวอย่างแบบง่าย และ ผู้ให้ข้อมูลหลักในการสัมภาษณ์ระดับลึกจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถามและแนว คำถามสำหรับการสัมภาษณ์ระดับลึก วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน การทดสอบแบบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ตัวอย่างส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือนไม่เกิน 18,000 บาท รายจ่ายต่อเดือน 10,001-15,000 บาท เงินออมต่อเดือนไม่เกิน 3,000 บาท สินทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท และหนี้สินไม่เกิน 10,000 บาท 2) ระดับ การประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารการเงินส่วนบุคคลของครูโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย โดยด้านความมีเหตุผล ด้านการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ด้านความรู้ และ ด้านคุณธรรมอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านความพอประมาณอยู่ในระดับปานกลาง 3. ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผล ต่อการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารการเงินส่วนบุคคล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 ประกอบด้วย เพศ อายุ อายุราชการ และตำแหน่ง 4. แนวทางการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงในการบริหารการเงินส่วนบุคคล 5 ด้าน 4.1 ด้านรายได้ โดยจัดสรรรายได้ที่มีอยู่อย่างพอประมาณ และสร้างรายได้เพิ่มขึ้นโดยใช้ความรู้และมีภูมิคุ้มกันความเสี่ยง 4.2 ด้านรายจ่าย โดยตัดลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและใช้จ่ายอย่างมีเหตุผลสอดคล้องกับรายได้ของครอบครัว 4.3 ด้านเงินออม โดยใช้หลักความมี เหตุผลและความรู้ในการวางแผนรายรับรายจ่าย เพื่อให้มีเงินออมที่เหมาะสมและช่วยเหลือเกื้อกูลแก่สังคม 4.4 ด้านสินทรัพย์ โดยใช้หลักความพอประมาณ ลงทุนในสินทรัพย์ที่มีการกระจายความเสี่ยง และมุ่งสร้าง ความมั่นคงในชีวิตในระยะยาว 4.5 ด้านหนี้สิน โดยมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีในการก่อหนี้เฉพาะสิ่งที่จำเป็นในการ ดำรงชีวิตและเพื่อประโยชน์ในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)