ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อ่านเขียนอย่างเข้าใจ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค ซี.ไอ.อาร์.ซี. (CIRC) ที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านและการเขียนสื่อความภาษาไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านความเข้าใจในการอ่านและความสามารถด้านการเขียนสื่อความภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อ่านเขียนอย่างเข้าใจ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค ซี.ไอ.อาร์.ซี. (CIRC) และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรม การเรียนรู้ เรื่อง อ่านเขียนอย่างเข้าใจ ด้วย การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค ซี.ไอ.อาร์.ซี. (CIRC) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๒ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) สังกัดเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา จำนวน 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อ่านเขียนอย่างเข้าใจ ด้วยการจัด การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค ซี.ไอ.อาร์.ซี. (CIRC) 2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้าน
ความเข้าใจในการอ่าน 3) แบบทดสอบด้านการเขียนสื่อความภาษาไทย และเกณฑ์การให้คะแนนการเขียนสื่อความภาษาไทย 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการหาค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test แบบ Dependent
ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถด้านความเข้าใจในการอ่าน และความสามารถด้านการเขียนสื่อความภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อ่านเขียนอย่างเข้าใจ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค ซี.ไอ.อาร์.ซี. (CIRC) สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อ่านเขียนอย่างเข้าใจ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค ซี.ไอ.อาร์.ซี. (CIRC) อยู่ในระดับมากที่สุด