การประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (5 ปี) คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Main Article Content

กิ่งกาญจน์ บูรณสินวัฒนกูล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (5 ปี) ในด้านบริบท  ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และผลกระทบ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนา ปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (5 ปี) ในด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และผลกระทบ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) ผู้ทรงคุณวุฒิ 2) อาจารย์ 3) บัณฑิต  4) นิสิต 5) ผู้ใช้บัณฑิต 6) ผู้บริหารคณะมนุษยศาสตร์ และ7) ผู้บริหารสถานศึกษา และครูพี่เลี้ยง รวมทั้งสิ้น 200  คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)  ผลการวิจัย พบว่า


  1. ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า แผนการดำเนินงานของหลักสูตร และจุดแข็ง หรือจุดอ่อนของหลักสูตรมีความเหมาะสม

  2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ด้านวัตถุประสงค์ของหลักสูตร โครงสร้างและเนื้อหาสาระของหลักสูตร คุณสมบัติของผู้เรียน/การสอบคัดเลือก คุณสมบัติของอาจารย์ที่สอน/อาจารย์ที่ปรึกษาทางวิชาการ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ และงบประมาณในการผลิตบัณฑิต มีความเหมาะสม

  3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า ด้านพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนของผู้สอน พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู การจัดการเรียนการสอน และการให้บริการ และการสนับสนุน การบริหารหลักสูตร และการประกันคุณภาพ มีความเหมาะสม

  4. ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า นิสิตที่สำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาที่กำหนดในหลักสูตรในปีการศึกษา 2555 – 2559 คิดเป็นร้อยละ 58 ทั้งนี้นิสิตสามารถสอบเป็นข้าราชการครูได้คิดเป็นร้อยละ 87.50 รอเรียกบรรจุคิดเป็นร้อยละ 8.33 และกำลังศึกษาต่อคิดเป็นร้อยละ 4.17

  5. ผลการประเมินด้านผลกระทบ พบว่า ผู้ใช้บัณฑิตส่วนใหญ่มีความพึงพอใจประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบัณฑิต และมีความพึงพอใจต่อบัณฑิตส่วนใหญ่เหมาะสมในระดับมากที่สุด


Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)