ผลของการสอนกลวิธีการอ่านอภิปัญญาที่มีต่อการอ่านเพื่อความเข้าใจและความตระหนักรู้ในการใช้กลวิธีการอ่านของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

สรณบดินทร์ ประสารทรัพย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจก่อนและหลังการสอนกลวิธีการอ่านอภิปัญญา 2) เปรียบเทียบการใช้กลวิธีการอ่านอภิปัญญาของผู้เรียนก่อนและหลังการสอน และ3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนเกี่ยวกับการสอนกลวิธีการอ่านอภิปัญญา การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานวิธีที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งข้อมูลที่เป็นปริมาณ และข้อมูลที่เป็นคุณภาพโดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความตระหนักรู้ในการใช้กลวิธีการอ่านอภิปัญญา(The Survey of Reading Strategies) (SORS) ซึ่งผู้วิจัยได้ดัดแปลงมาจาก The Survey of Reading Strategies 2 (SORS) 55ที่พัฒนาขึ้นโดย Mokhtari and Sheorey (2002) 2) แบบทดสอบการอ่านเพื่อความเข้าใจ (The Reading Comprehension Test) และ 3) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง โดยผู้วิจัยได้ทดลองกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้เรียน         ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทพศิรินทร์ จำนวน 50 คน ระยะเวลา 10 สัปดาห์ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของผู้เรียนหลังการสอนกลวิธีการอ่านอภิปัญญาสูงกว่าก่อนการสอนกลวิธีการอ่านอภิปัญญา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2) การใช้กลวิธีการอ่านอภิปัญญาของผู้เรียนหลังการสอนกลวิธีการอ่านอภิปัญญาสูงกว่าก่อนการสอนกลวิธีการอ่านอภิปัญญา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการสอนการใช้กลวิธีการอ่านอภิปัญญาในระดับดี

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)