การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและมโนทัศน์ทางภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 2) ศึกษามโนทัศน์ ทางภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาใต้ แบบทดสอบวัดมโนทัศน์ทางภูมิศาสตร์ แบบสอบถามความคิดเห็น การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2) มโนทัศน์ทางภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ อยู่ในระดับสูง 3) ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
References
สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กรรณิการ์ กวางคีรี. (2554). “การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และความเข้าใจที่คงทนของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้.” วิทยานิพนธ์ปริญญา
ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการนิเทศ. นครปฐม บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กิตติคุณ รุ่งเรือง. (2556). การจัดการเรียนการสอนภูมิศาสตร์. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
กุหลาบ หงส์ทอง. (2546). “การพัฒนาชุดการเรียนรู้ เรื่อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชุมชน
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.” ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตร
และการนิเทศภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์. (2558). ศาสตร์การคิด : รวมบทความเรื่องการคิดและการสอนคิด.
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
นาตยา ภัทรแสงไทย. (2525). ยุทธวิธีการสอนสังคมศึกษา. กรุงเทพฯ : พีรพัฒนา.
พรพัฒน์ สัธนรักษาเวศ. (2553). “การศึกษาผลการเรียนรู้และความสามารถในการคิด
อย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง วิกฤตการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้”. ปริญญาศึกษา
ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ลัดดา ศิลาน้อยและคณะ. (2553). โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาสมรรถนะครู
สังคมศึกษา ด้วยกระบวนการวิจัยสู่ความเชี่ยวชาญ ตามแนวการจัดการเรียนรู้ใน
ศตวรรษที่ 21. ขอนแก่น : สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ :
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
สิริวรรณ ศรีพหล. (2552). การจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม. นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุวิทย์ มูลคำและอรทัย มูลคำ. (2546). 21 วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด.
พิมพ์ครั้งที่ 5 กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
สุวิทย์ มูลคำ. (2547). กลยุทธ์การสอนคิดเชิงมโนทัศน์. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2553). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรีรัตน์ สินกัน. (2554). “ผลของการพัฒนามโนทัศน์โดยการใช้กระบวนการสืบเสาะในเรื่อง
พื้นที่ผิวและปริมาตร.” ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
Michaelis, John U. (1992). Social Studies for Children A Guide to Basic Instruction.
Tenth Edition. Boston: Allyn and Bacon
Nelson, Murry R. (1992). Children and Social Studies. New York: Harcourt Brace
Jocanvich College Publishers.