อัตลักษณ์ 5 เก่งของนิสิตพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Main Article Content

Supaporn Naewbood
สมาพร ฉิมนาค

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยภาคตัดขวาง (Cross sectional research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับอัตลักษณ์ และเพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนอัตลักษณ์ ของนิสิตพยาบาลศาสตร์แต่ละชั้นปี  กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตพยาบาลศาสตร์ 4 ชั้นปี มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีการศึกษา 2560 จำนวน  268  คน  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม อัตลักษณ์ 5 เก่ง ของคณะพยาบาลศาสตร์ ช่วงระยะเวลาประมาณ  2  สัปดาห์ (ในเดือนกุมภาพันธ์ 2561) เครื่องมือวิจัย ประกอบไปด้วย 2 ส่วนดังนี้ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2 ข้อคือ  เพศ  และเกรดเฉลี่ย  และ2) แบบสอบถาม อัตลักษณ์ 5 เก่ง เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 25 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล  โดยการแจกแจงความถี่ และร้อยละ  เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนอัตลักษณ์ของนิสิตพยาบาลศาสตร์แต่ละชั้นปี ใช้สถิติ F-test (One way ANOVA)


 ผลการวิจัย  พบว่าระดับคะแนนอัตลักษณ์ของนิสิตพยาบาลศาสตร์ทั้ง 5 ด้านมีคะแนนอยู่ในระดับมาก 2 ด้านคือ อัตลักษณ์ด้านเก่งครองชีวิต = 3.68, S.D. = .57) และอัตลักษณ์ด้านเก่งพิชิตปัญหา = 3.58, S.D. = .67) และอีก 3 ด้านมีคะแนนอยู่ในระดับปานกลาง คือ อัตลักษณ์ด้านเก่งงาน =3.10, S.D. = .91)  อัตลักษณ์ด้านเก่งคน =3.34, S.D. = .96)  และอัตลักษณ์ด้านเก่งคิด =3.23, S.D. = .83)  ส่วนคะแนนเฉลี่ยอัตลักษณ์ของนิสิตพยาบาลศาสตร์ 4 ชั้นปี ทั้ง 5 ด้านของอัตลักษณ์ คือ เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด เก่งครองชีวิต และเก่งพิชิตปัญหา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กองกิจการนิสิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.(2557).แผนกลยุทธ์กองกิจการนิสิต ประจำปี 2557-2561.
[เอกสารออนไลน์].สืบค้น 29 มกราคม 2561, จาก www.sa.nu.ac.th/attach/files/pankon.pdf.
คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร.(2560).แผนปฏิบัติการประจำปี 2560.พิษณุโลก: คณะ
พยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร.(2559).หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร
ปรับปรุง พ.ศ. 2559). พิษณุโลก: คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ฉัตรทิพย์ สุวรรณชิน และพนมพร จันทรปัญญา.(2558).การสร้างอัตลักษณ์ของผู้เรียนใน
ระดับอุดมศึกษา.วารสารปัญญาภิวัฒน์.7(2),267-280.
ดาทิวา พันธ์น้อย,ปกรณ์ ประจันบาน และชำนาญ ปาณาวงษ์.(2557).รูปแบบปัจจัยเชิงสาเหตุที่
ส่งผลต่ออัตลักษณ์ของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร.วารสารวิชาการและวิจัย
สังคมศาสตร์.9(26), 123-138.
วรากรณ์ สามโกเศศ. (2546). วิตามินเสริมของมหาวิทยาลัยที่ดี: กระแสทัศน์. มติชนรายวัน. 10
เมษายน, 6.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2551). กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2
พ.ศ. 2551-2565. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภัชฌาน์ ศรีเอี่ยม.(2558).อัตลักษณ์นักศึกษาในยุคปริญญาล้นประเทศ.วารสารวไลยอลงกรณ์
ปริทัศน์.5(1),199-209.
อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2546). อัตลักษณ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determinining Sample Size for Research Activities.
Educational and Psychological Measurement.30, 607-610.
Lairio, M., Puukari, S. & Kouvo, A. (2013). Studying at university as part of student life and
Identity construction. Scandinavian Journal of Education Research, 57(2), 115-131.
Marcia, J. E. (1980). Identity in Adolescence. New York::Wiley.
Nygaard, C. & Serrano, M. B. (2009). Student’s identity construction and learning: reasons for
developing a learning-centred curriculum in higher education. Journal of Education
Research, 3(3),233-253.
Waterman, A. S. (1994). Ego Identity A Handbook for Psychosocial Research. New York:
Springer-Verlag.