การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมอาชีพระยะสั้นสำหรับผู้ประกอบการอาหารปรุงสำเร็จเพื่อสุขภาพ

Main Article Content

Siravit Warachochanakarn

บทคัดย่อ

การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมอาชีพระยะสั้นสำหรับผู้ประกอบการอาหารปรุงสำเร็จเพื่อสุขภาพ


บทคัดย่อ


               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยทั้งหมด 5 ข้อ คือ  1) เพื่อศึกษาสภาพความต้องการด้านอาชีพ             2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น เรื่อง หลักสูตรฝึกอบรมอาชีพระยะสั้น สำหรับผู้ประกอบการอาหารปรุงสำเร็จเพื่อสุขภาพ 3) เพื่อศึกษาผลการรับรู้ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม 4) เพื่อศึกษาทักษะการประกอบอาหารปรุงสำเร็จเพื่อสุขภาพ 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ประชาชนทั่วไปในเขตพื้นที่นครปฐมที่มีความสนใจเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรฝึกอบรมอาชีพระยะสั้นฯ โดยใช้การคัดเลือกแบบสมัครใจ/อาสาสมัคร (Voluntary Selection) โดยใช้วิธีการสมัครใจจำนวนประมาณการ 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบสอบถามความต้องการ หลักสูตรฝึกอบรมอาชีพระยะสั้น สำหรับผู้ประกอบการอาหารปรุงสำเร็จเพื่อสุขภาพแบบประเมินการรับรู้ แบบประเมินทักษะการประกอบอาหารปรุงสำเร็จเพื่อสุขภาพ และ แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่า ร้อยละ(%)  ค่าเฉลี่ย ( xˉ ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตารฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (T-test Dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)


ผลการวิจัยพบว่า


               1) ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานพบว่า ผู้ที่ส่วนเกี่ยวข้องเห็นความสำคัญและมีความต้องการในการจัดฝึกอบรมฝึกอบรมอาชีพระยะสั้นอาหารปรุงสำเร็จเพื่อสุขภาพ คาดหวังให้ผู้ที่มีความสนใจได้ใช้เป็นอาชีพทางเลือกสร้างรายได้ให้กับตนเอง และลดภาวะโภชนาการผิดปกติ


               2) ผลการพัฒนาหลักสูตร พบว่า หลักสูตรประกอบไปด้วยหลักการ วัตถุประสงค์ของหลักสูตรฝึกอบรม โครงสร้างและเนื้อหาของหลักสูตร รูปแบบกิจกรรมการฝึกอบรม สื่อประกอบการฝึกอบรม ระยะเวลาในการฝึกอบรม และ การวัดประเมินผลการฝึกอบรม


               3) ผลการดำเนินการใช้หลักสูตรกับผู้เข้าร่วมฝึกอบรม จำนวน 14 ท่าน พบว่า ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมมีผลการรับรู้หลังการเข้ารับการฝึกอบรมสูงกกว่าก่อนเข้ารับการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


               5) ผลการประเมินทักษะการประกอบอาหาปรุงสำเร็จเพื่อสุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับ ดี


               4) ผลการประเมินความพึงพอใจ ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมมีความ พึงพอใจในภาพรวมในระดับ มากที่สุด


 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)