ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการบริหารสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ เขต 1 ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการบริหาร สถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นทื่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา และ สภาพการบริหารสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง กับการบริหารสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียนของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ครูผู้สอน บุลากรทางการศึกษา รวมจำนวน 316 คน ใช้แบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบียงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
ผลการวิจัยพบว่า
- ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นทื่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก ทั้ง 4 ด้าน เรียงตามลำดับ คือ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล 2. การบริหารสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นทื่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก ทั้ง 4 ด้าน เรียงตามลำดับ คือ ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานงบประมาณ ด้านการบริหารงานทั่วไป และด้านการบริหารงานบุคคล 3. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการบริหารสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นทื่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ เขต 1 ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Abstract
The purpose of this research were to study relationship between Transformational
Leadership and School Administration to ASEAN Community under The Primary Education Service Area Office, Samutprakan District 1. The sample used in this study includes 316 teachers and personal in education under The Primary Education Service Area Office, Samutprakan District 1 . The research used questionnaire to collect data . The statistics indicators are mean ,standard deviation and multiple correlation coefficient. The research finding are as follow :