พฤติกรรมการเรียนรู้การใช้วุลแฟรมอัลฟาเพื่อช่วยในการทำความเข้าใจเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีต่อเนื่อง วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้การใช้งาน Wolfram Alpha ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีต่อเนื่อง วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2-3 ปี ที่ลงเรียนในรายวิชาการคำนวณพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้แกรมพื้นฐาน ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวนทั้งสิ้น 46 คน ใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าเป็นเครื่องมือในการวิจัยโดยอ้างอิงจากทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเย และวิเคราะห์ผลการวิจัยโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการเรียนรู้การใช้งาน Wolfram Alpha ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ต่อเนื่อง ปัจจัยด้านผลการเรียนรู้หรือความสามารถทางการเรียนรู้ด้านต่างๆโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก ด้านที่มีผลมากที่สุด คือ ด้านเจตคติ มี = 4.52 S.D. = .57 ด้านของกระบวนการเรียนรู้และจดจำอันเป็นผลจากการจัดกระทำกับข้อมูลในสมองของผู้เรียนผลการวิเคราะห์อยู่ในระดับดีมาก โดยด้านที่ส่งผลมากที่สุด คือ ด้านผลจากเหตุการณ์ภายนอกที่ส่งผลต่อกระบวนการเรียนรู้ภายในของตัวผู้เรียน มีค่า
= 4.62 S.D. = .56 และด้านพฤติกรรมการเรียนรู้การใช้งาน Wolfram Alpha ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ต่อเนื่อง อยู่ในระดับดีมาก โดยด้านที่ส่งผลมากที่สุด คือ พฤติกรรมการเรียนรู้ผ่านออนไลน์ มีค่า
= 4.48 S.D. = .32
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
เนื้อหาของแต่ละบทความเป็นทัศนะของผู้เขียน ซึ่งที่ปรึกษา บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะกรรมการบริหารวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
References
กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2563). หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2563. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
ฉัตรปวีณ อำภา และวิสาข์ จัติวัตร์. (2564). การพัฒนารูปแบบการสอนการอ่านเชิงวิชาการโดยใช้แนวทางการเรียนรู้ภาษาเพื่อความรู้ความเข้าใจทางวิชาการในการพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษทางวิชาการ กลวิธีการเรียนรู้และทักษะการแก้ปัญหา. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6 (12), 239-254.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: เอส อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
วัชรพงศ์ ศรีแสง. (2555). Wolfram Alpha เพื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์แบบบูรณาการ. นิตยสาร สสวท., 40 (178), 41-43.
สุธีรา งามเกียรติทรัพย์. (2564). การสร้างบรรยากาศในการเรียนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์. นิตยสารเสียงธรรมจากมหายาน, 7 (1), 23-34.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). อัตราการเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2559-2563. ค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2566, จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/03.aspx
อักษราภัค หลักทอง. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู้ด้วยใจผ่านเจตคติต่อการเรียนกับลักษณะความใฝ่รู้เพื่อพัฒนาตนเองของเยาวชนในมหาวิทยาลัย. Journal of Liberal Arts, Maejo University, 8 (1), 32-45.
อำนาจ วังจีน และมณีรัตน์ เกตุไสว. (2563). การสอนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์พื้นฐานวิศวกรรมในยุคสังคมความปกติใหม่. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Wolfram Alpha LLC. (2010). Wolfram Alpha. Retrieved 15 March 2023, from http://wolframalpha.com/
Wolfram, S. (2003). The mathematica book (5th ed.). Cambridge: Cambridge University Press.