การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่อง กระบวนการผลิตสื่อเสียงบรรยายภาพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่อง กระบวนการผลิตสื่อเสียงบรรยายภาพ และ2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจหลังการใช้งานหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง กระบวนการผลิตสื่อเสียงบรรยายภาพ วิธีการวิจัย ศึกษาข้อมูลทฤษฎีจากหนังสือ เอกสาร บทความ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วย 2 บทดังนี้ บทที่ 1 ทำความรู้จักสื่อเสียงบรรยายภาพ และบทที่ 2 ขั้นตอนการผลิตสื่อเสียงบรรยายภาพ หลังจากนั้นประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านประเมินคุณภาพนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงแก้ไข และประเมินความพึงพอใจกับกลุ่มศึกษา นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาประยุกต์ใช้สื่อเสียง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 38 คน
สรุปผลการศึกษาพบว่าความพึงพอใจหลังการใช้งานหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง กระบวนการผลิตสื่อเสียงบรรยายภาพ ของผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน ภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 𝑥̅ =4.13, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. =0.73) หากพิจารณาความพึงพอใจหลังการใช้งานหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง กระบวนการผลิตสื่อเสียงบรรยายภาพ โดยกลุ่มศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาประยุกต์ใช้สื่อเสียงภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 38 คน อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 𝑥̅ =4.57, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D.=0.59) พบว่า กลุ่มศึกษาสามารถนำองค์ความรู้ในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์พัฒนาสื่อเสียงตามกระบวนการผลิตสื่อเสียงบรรยายภาพ ได้อย่างถูกต้อง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กุลธิดา เด่นวิทยานนท์. (2561). “อีบุ๊ก” โอกาสที่มากับความท้าทายของธุรกิจสิ่งพิมพ์ไทย. https://www.pwc.com/th/en/pwc-thailand-blogs/blog-20180628.html
กุลนารี เสือโรจน์. (2558). การวิจัยถอดบทเรียนหลักการเขียนบทสื่อเสียงบรรยายภาพรายการอาหารทางโทรทัศน์เพื่อผู้พิการทางการเห็น. คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ไกรพ เจริญโสภา. (2554). หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book. มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
ทับทิมทอง กอบัวแก้ว และวัชรนนท์ สุปัตติ. (2563). การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book. https://tubtimthongko.wixsite.com/ebooklearning/blank-6
ธาริณี อินทรนันท์. (2561). คู่มือการผลิตเสียงบรรยายภาพ (Audio Description-AD)เบื้องต้น. อิสระดี.
ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ. (2559,31 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 133 ตอนพิเศษ 193 ง. หน้า 54.
ประคองศรี ภาเรือง. (2560). โครงสร้างทั่วไปของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์. http://vandalearning.com/
พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายสียงและกิจการโทรทัศน์. (2551, 04 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที่ 42. หน้า 75.
พิชยา วัฒนะนุกูล, วาสนา ผิวขม และเปรม จันทร์สว่าง. (2560). พฤติกรรมและปัจจัยการใช้สมาร์ทโฟนในกลุ่มวัยรุ่น. มหาวิทยาลัยขอนเเก่น.
ภัทธีรา สารากรบริรักษ์. (2558). เสียงบรรยายภาพที่คนพิการทางการเห็นต้องการ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. บริการโทรทัศน์เพื่อการเข้าถึงของคนพิการ. http://bcp.nbtc.go.th/th/detail/2018-03-21-15-22-31.
เสกสรร อามาตย์มนตรี. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะ เรื่อง การผลิตสื่อเสียงบรรยายภาพ. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). สาขาวิชาเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
อารดา ครุจิต. (2558). หลักการผลิตเสียงบรรยายภาพ. (Audio Description). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.