การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์อย่างมีส่วนร่วมของชุมชนเมืองเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของชุมชนเมืองเวียงสระ 2) พัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ในพื้นที่ชุมชนเมืองเวียงสระ และ 3) พัฒนาผู้นำเที่ยวในกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของชุมชนเมืองเวียงสระ งานวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาวิเคราะห์ ผู้ให้ข้อมูลหลักคัดเลือกแบบเจาะจง คือ ประชาชนในท้องถิ่น จำนวน 50 คน ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว จำนวน 15 คน นักท่องเที่ยว จำนวน 50 คน และกลุ่มหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน จาก 6 หน่วยงาน ผลการศึกษา พบว่า 1) เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของชุมชนเวียงสระ ประกอบด้วย วัดเวียงสระ – เทวสถาน – พระศรีศากยมุณี – เจดีย์และสระน้ำโบราณ – พระพุทธรูปหินทรายแดง – ท่าเรือโบราณ – ศาลพระยาอู่ทอง และเส้นทางการเรียนรู้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมชุมชน 2) การพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของชุมชนเมืองเวียงสระให้ล้อตามเส้นทางและรายการนำเที่ยวที่พัฒนาขึ้น คือผูกโยงกิจกรรมท่องเที่ยวในกลุ่มโบราณสถานเมืองโบราณเข้าไว้กับกิจกรรมการเรียนรู้ในแหล่งภูมิปัญญาของชุมชน และ 3) การพัฒนาผู้นำท่องเที่ยว เป็นการพัฒนาเยาวชนในพื้นที่ให้มีทักษะในการนำเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และวิถีชีวิตชุมชน ปัจจุบันมีผู้นำเที่ยว จำนวน 19 คน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา. (2554). การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยบูรพา.
จักรินรัตน์ นิยมค้า. (2558). การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ทิพาพร ไตรบรรณ. (2557). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์: กรณีศึกษาหมู่บ้านอรัญญิก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ธณัศวัล กุลศรี. (2559). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์: กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์สิรินธร ตำบลโนนบุรี อำเภอ สหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. ขอนแก่น: วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นงคราญ สุขสม. (2543). โบราณคดีศรีวิชัย มุมมองใหม่การศึกษาวิเคราะห์แหล่งโบราณคดีรอบอ่าวบ้านดอน. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
นงคราญ สุขสม. (ม.ป.ป). ประวัติศาสตร์และโบราณคดีสุราษฎร์ธานี. กรุงเทพฯ: อาทิตย์ คอมมูนิเคชั่น.
พจนีย์ แก้วเจริญ. (2551). โครงการการสืบค้นประวัติศาสตร์เมืองเวียงสระเพื่อหาแนวทางในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชุมชนโดยกลุ่มเยาวชนและชุมชนเมืองเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี: รายงานฉบับสมบูรณ์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
วิภาวรรณ ปิ่นแก้ว. (2551). การศึกษาเพื่อเสนอเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สารัท ชลอสันติสกุล. (2556). การขุดตรวจทางโบราณคดี คูเมืองโบราณเวียงสระ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. นิตยสารศิลปากร, 56(6), 53-70.
สุรัตน์ เลิศล้ำ, ปานใจ ธารทัศนวงศ์, สุรพล นาถะพินธุ, พงศ์ธันว์ สำเภอเงิน และ Sokrithy, I. (2553). โครงการศึกษาความเชื่อมโยงของวัฒนธรรมท้องถิ่นสมัยอดีต ถึงปัจจุบันเพื่อพัฒนาฐานข้อมูลวัฒนธรรมและอารยธรรมโบราณในพื้นที่บริเวณล่มแม่นํ้าโขงและคาบสมุทรมลายา: รายงานฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
อมรา ศรีสุชาติ. (2557). ศรีวิชัยในสุวรรณทวีป. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.