การออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องประดับจากทองเหลือง

Main Article Content

อนุชา กลมเกลี้ยง
วรุต วัฒนากิจขจร
ภัทรนิษฐ์ กาแมน
คฑา ม่วงเทศ

บทคัดย่อ

การออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องประดับจากทองเหลือง มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการออกแบบเครื่องประดับจากทองเหลือง 2) เพื่อออกแบบและสร้างต้นแบบเครื่องประดับจากทองเหลือง 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจรูปแบบลวดลายและการใช้งานของเครื่องประดับจากทองเหลือง มีการดำเนินงาน 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่1 การศึกษาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล ระยะที่2 การออกแบบผลิตภัณฑ์ เริ่มจากการนำลักษณะของดอกลีลาวดีมาออกแบบลวดลายเซ็ตเครื่องประดับ ประกอบไปด้วย จี้ กำไล ต่างหู และแหวน ขั้นตอนการออกแบบ ประกอบด้วย การร่างภาพ (Idea Sketch) และ การพัฒนาแบบ (Idea Development) แล้วพิจารณาให้เหลือแบบที่ดีที่สุด ขึ้นรูปแบบ 3 มิติ ด้วยโปรแกรม Solid work เพื่อทำการผลิตจริง (Prototype) เพียง 1 รูปแบบ และระยะที่3 ประเมินความพึงพอใจและสรุปผลการวิจัย มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมอยู่ในระดับดีมาก โดยจำแนกเป็นรายด้านได้ดังนี้ 1. ด้านความงาม มีความเหมาะสมในระดับดีมาก 2. ด้านรูปแบบ มีความเหมาะสมในระดับดีมาก 3. ด้านประโยชน์ใช้สอย มีความเหมาะสมในระดับดีมากและ 4. ด้านความเหมาะสมของการใช้วัสดุและการผลิต มีความเหมาะสมในระดับดีมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สยมภู ภวรุ่งสัตยา. (2555). การศึกษาเพื่อการออกแบบเครื่องประดับสตรีประเภทกำไลโดยวัสดุประเภทพลาสติกเหลว. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปริศนา บุญศักดิ์. (2555). การศึกษาการออกแบบเครื่องประดับด้วยเทคนิคการปั๊มขึ้นรูปโดยใช้วัสดุแผ่นดินกระดาษเซรามิก. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

MGR Online. (2555). ฉีกแนวคิดเครื่องประดับจับ'ทองเหลือง'สร้างงานย้อนยุค. สืบค้นจากhttps://mgronline.com/smes/detail/9500000132682

iNattt. (ม.ป.ป.). แนวคิดทางด้านรูปแบบในการออกแบบเครื่องประดับ. สืบค้นจาก http://1ab.in/feU

บงกช เวบ้านแพ้ว, พัชรี ยินดีสุข , ภิรมณ์ญา ธรรมสอน, ณิกานต์ นิยมญาติ , และ ปริญดา บัวพุ่ม . (ม.ป.ป.). การออกแบบเครื่องประดับ. สืบค้นจาก http://1ab.in/fe3

สุนิสา จงย่อกลาง. (2562). องค์ประกอบในการออกแบบเครื่องประดับ. สืบค้นจาก http://blackevil408.blogspot.com/p/blog-page_6677.html