ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงานในองค์กร : กรณีศึกษา กลุ่มบริษัทผลิตน้ำแข็งแห่งหนึ่ง ในจังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • วารุณพร เชื้อวณิชย์ คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ธรรมวิมล สุขเสริม อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ความผูกพันของพนักงาน, แรงจูงใจ, สภาพแวดล้อมในการทำงาน, โอกาสก้าวหน้าในอาชีพ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาเปรียบเทียบลักษณะส่วนบุคคล จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อายุงาน และตำแหน่งงาน กับความผูกพันของพนักงาน  (2) ศึกษาความสัมพันธ์ของแรงจูงใจกับความผูกพันของพนักงาน และ (3) ศึกษาปัจจัยของแรงจูงใจที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานทุกระดับทุกตำแหน่ง ในสำนักงานใหญ่ และ 30 สาขา ในกลุ่มบริษัทผลิตน้ำแข็งแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 288 คน โดยคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างตามแนวคิดของทาโร่  ยามาเน่ และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยใช้หลักความน่าจะเป็น เครื่องมือที่ใช้การศึกษาครั้งนี้ คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติวิเคราะห์ความแตกต่าง  สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า (1) ลักษณะส่วนบุคคล ประกอบด้วย ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อายุงาน และตำแหน่งงาน ที่แตกต่างกันมีผลต่อความผูกพันของพนักงานในองค์กรแตกต่างกัน ส่วนเพศ อายุ และสถานภาพสมรส ที่แตกต่างกันมีผลต่อความผูกพันของพนักงานในองค์กรไม่แตกต่างกัน (2) ปัจจัยแรงจูงใจ ประกอบด้วย ภาวะผู้นำ ค่าตอบแทน สภาพแวดล้อมในการทำงาน โอกาสก้าวหน้าในอาชีพ และการเรียนรู้และพัฒนา มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันของพนักงานในกลุ่มบริษัทผลิตน้ำแข็งแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี และ (3) ปัจจัยแรงจูงใจด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานและด้านโอกาสก้าวหน้าในอาชีพ ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงานในกลุ่มบริษัทผลิตน้ำแข็งแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี ส่วนปัจจัยแรงจูงใจด้านภาวะผู้นำ ด้านค่าตอบแทน และด้านการเรียนรู้และพัฒนา ไม่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงานในกลุ่มบริษัทผลิตน้ำแข็งแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี

References

กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. (2557). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ : ส. เอเซียเพรส (1989).

ฐิติมา หลักทอง. (2557). ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัท ผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งหนึ่ง ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณฐพรรณ ชาญธัญกรรม. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรกรมชลประทาน (สามเสน). การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกริก.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 17). นนทบุรี : เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

ปกภณ จันทศาสตร์. (2559). ปัจจัยคุณสมบัติส่วนบุคคล ปัจจัยด้านลักษณะงาน และแรงจูงใจที่มีผลต่อความผูกพันกับองค์กรของพนักงานเอกชนระดับปฏิบัติการ ในเขตลาดพร้าว-จตุจักร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ปาริชาติ บัวเป็ง. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน บริษัท ไดกิ้น อินดัสทรีส์ ประเทศไทย (จำกัด). การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

พัสราพรรณ เพ็ชร์ยาหน. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กร กรณีศึกษา ธนาคาร กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พิรินทร์ชา สมานสินธุ์. (2554). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างความผูกพันของพนักงาน : ศึกษาเฉพาะกรณี บริษัท เบสท์ เพอฟอร์แมนซ์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

รักษ์รัศมี วุฒิมานพ. (2555). ลักษณะบุคคลและลักษณะงานที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วธู สวนานนท์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะงาน คุณภาพชีวิตในการงาน และความผูกพันของพนักงานต่อองค์การรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง. งานวิจัยส่วนบุคคลศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุธีรา อะทะวงษา. (2560). การจัดการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. เชียงใหม่ : เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์.

สำนักงานแรงงานจังหวัดอุบลราชธานี. (2560). รายงานการวิเคราะห์ข้อมูลอุปสงค์และอุปทานแรงงาน จังหวัดอุบลราชธานี ปี 2560 [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2561, จาก http://ubonratchathani.mol.go.th/ download.

Anitha, J. (2014). Determinants of Employee Engagement and Their Impact on Employee Performance. International Journal of Productivity and Performance Management, 63(3), 308 - 323.

Bakar, R. A. (2013). Understanding Factors Influencing Employee Engagement: A Study of the Financial Sector in Malaysia. Doctor of Philosophy’s Thesis. RMIT University.

Bersin, J. (2015). Becoming Irresistible : A New Model for Employee Engagement. Deloitte Review, 16, 146 – 163.

Liyanage, H. M. and Gamage, P. (2017). Factors Influencing the Employee Engagement of the Generation Y Employees. In APIIT Business and Technology Conference, July 20th, 2017. 66 - 77. Colombo : APIIT City Campus.

Mohd I. H., Shah M. M., Zailan, N. S. (2016). How Working Environment Affects the Employee Engagement in a Telecommunication Company. In the 3rd International Conference on Business and Economics, September, 21st – 23rd, 2016. 418 - 426. Selangor Darul Ehsan : Universiti Teknologi MARA.

Stair M. and Galpin M. (2010). Positive Engagement : From Employee Engagement to Workplace Happiness. In Oxford Handbook of Positive Psychology and Work, Linley, P. A., Harrington, S., Garcea N., Editor. New York : Oxford University Press. 155 – 172.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-27