ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเงินฝากและความสามารถการทำกำไรของธนาคารพาณิชย์

ผู้แต่ง

  • ยุวดี มาลารส นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • กิ่งแก้ว สมจิตร นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • จุฑารัตน์ ใบปกทอง นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ชลดา อบแก้ว นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • วิกรานต์ เผือกมงคล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

การบริหารเงินฝาก, ความสามารถการทำกำไร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ เพื่อศึกษาความสามารถการทำกำไรของธนาคารพาณิชย์ และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบริหารเงินฝากและความสามารถการทำกำไรของธนาคารพาณิชย์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศจำนวน 14 ธนาคาร และเก็บรวบรวมข้อมูลงบรายงานประจำปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 – พ.ศ.2562 จำนวน 126 ตัวอย่าง เป็นข้อมูลแบบพาแนล การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สมการเชิงถดถอย ด้วยวิธีวิธีกำลังสองน้อยที่สุด ผลการศึกษาพบว่า ธนาคารพาณิชย์มีการบริหารเงินฝากด้านต้นทุนของเงินฝากและด้านเสถียรภาพของเงินฝากอยู่ในระดับที่ดี ส่วนความสามารถการทำกำไรของธนาคารพาณิชย์ถือได้ว่าอยู่ในระดับที่ดีเช่นกัน และนอกจากนั้นยังพบว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากมีความสัมพันธ์กับความสามารถการทำกำไรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

เกรียงไกร จิรกุลพรชัย. (2552). ปัจจัยที่ทำให้เกิดหนี้ค้างชำระของสินเชื่อที่อยู่อาศัยในแต่ระดับ LTV : กรณีศึกษาธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เจดมะณี วงค์ภักดี. (2556). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อปริมาณเงินรับฝากของธนาคารพาณิชย์ จำกัด (มหาชน). การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณชา อนันต์โชติกุล และลัทธพร รัตนวรารักษ์. (2561). ธนาคารไทยเสี่ยงขึ้นหรือไม่ในยุคดอกเบี้ยต่ำ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2562, จาก : https://www.pier.or.th.

ณัฐธยาน์ ศวีรภานันท์. (2556). ปัจจัยกำหนดจำนวนสาขาของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 1(3), 46 - 53.

บดินทร์ มหาวงศ์ และไพบูลย์ ผจงวงศ์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างผลการดำเนินงานและหลบหลีกภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 13(18), 15 - 40.

วรีวรรณ เจริญรูป , พวงทอง วังราษฎร์, นภาภรณ์ ทรรัพย์กุลมงคล. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างทุนมนุษย์กับผลการดำเนินงานของกิจการ : กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 9(3), 44 – 50.

วิไลวรรณ เที่ยงตรง, เกตุแก้ว วิศวโกศล, นงค์นิตย์ จันทร์จรัส. (2561). ปัจจัยกำหนดความสามารถในการทำกำไรของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร, 13(1), 307 – 308.

สายสมร วงศ์สวัสดิ์. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อปริมาณเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 12(27), 123 – 127.

อุษณีย์ ลิ่วรัตน์. (2559). วิเคราะห์หุ้นราย Sector : หุ้นกลุ่มธนาคาร. กรุงเทพฯ : บุญศิริการพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-26