สัญญาณเตือนภัยการตกแต่งบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ณปภัช จารุแพทย์ นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • พรพิพัฒน์ จูฑา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

สัญญาณเตือนภัย, การตกแต่งบัญชี, การบริหารกำไร

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสัญญาณเตือนภัยการตกแต่งบัญชีเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพของบริษัทจดทะเบียนใหม่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยผู้วิจัยได้ทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างบริษัทที่เข้าจดทะเบียนใหม่ในปี 2558 จำนวน 6 บริษัท ในการวิจัยนี้ได้ใช้กระดาษทำการในการเก็บข้อมูลจากแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56 - 1) และรายงานประจำปี ระหว่างปี 2557 - 2560 กรอบแนวคิดที่นำมาศึกษาครั้งนี้พัฒนามาจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในอดีตเกี่ยวกับสัญญาณเตือนภัยการตกแต่งบัญชีเชิงปริมาณ 5 ดัชนี คือ ดัชนีลูกหนี้ต่อยอดขาย ดัชนีอัตรากำไรขั้นต้น ดัชนีคุณภาพสินทรัพย์ ดัชนีการเติบโตของยอดขายและดัชนีอัตราส่วนรายการคงค้างรวมต่อสินทรัพย์รวม รวมทั้งยังรายการตรวจสอบสัญญาณเตือนภัยเชิงคุณภาพอีก 20 รายการ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า สัญญาณเตือนภัยเชิงปริมาณที่พบมากที่สุดเป็นบริษัทที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม โดยดัชนีเตือนภัยที่พบมากที่สุด คือ ดัชนีการเติบโตของยอดขายและดัชนีลูกหนี้ต่อยอดขาย สำหรับสัญญาณเตือนภัยเชิงคุณภาพพบในสัดส่วนที่ค่อนข้างน้อยไม่ถึงร้อยละ 50 ของจำนวนรายการที่ตรวจสอบทั้งหมด จึงไม่เพียงพอที่จะสรุปว่าพบสัญญาณเตือนภัยเชิงคุณภาพของบริษัทกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งรายการที่ตรวจสอบจะพบในบริษัทที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม โดยรายการที่ตรวจพบ คือ เงินทุนหมุนเวียนของบริษัทไม่เพียงพอติดต่อกันหลายปีและการเพิ่มขึ้นของลูกหนี้หรือรายได้ค้างรับที่แตกต่างไปจากยอดที่กิจการประสบอยู่ในอดีตอย่างเห็นได้ชัด สำหรับประโยชน์ที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้ คือ 1) นักลงทุนหรือผู้ใช้งบการเงินสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์สัญญาณเตือนภัยการตกแต่งบัญชีของบริษัท และนำมาประกอบการพิจารณาข้อมูลงบการเงินของบริษัทเพื่อซื้อขายหุ้นได้ 2) ธุรกิจสามารถนำไปใช้ปรับปรุงและใช้เป็นหลักข้อระมัดระวังในการจัดทำงบการเงิน

References

กนกศรี ศรีทอง. (2550). สัญญาเตือนภัยการตกแต่งบัญชี : กรณีศึกษา บริษัท นครหลวงเส้นใยสังเคราะห์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ดาต้าแมท จำกัด (มหาชน) และบริษัท โดมอน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน). การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เกศชฎา ธงประชา. (2550). สัญญาเตือนภัยการตกแต่งบัญชี : กรณีศึกษา บริษัท ปิคนิคคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยฟิล์มอินดัสตรี่ จำกัด (มหาชน) และบริษัท เซอร์คิทอีเลคโทรนิคส์อินดัสตรีส์จำกัด (มหาชน). การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2561). พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2561,

จาก : https://www.dbd.go.th/news_view.php?nid=1078.

จุรีพร อัศวอิทธิฤทธิ์ และชุติมา นาคประสิทธิ์. (2559). การตรวจสอบการตกแต่งกำไรโดยแบบจำลอง M-Score : กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ในการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 17 มิถุนายน 2559. มหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนสุนันทา.

ชุติมณฑน์ หาญฤทธิเจริญ. (2558). การศึกษาเชิงประจักษ์ของความสัมพันธ์ระหว่างการควบคุมภายในและคุณภาพกำไร กรณีศึกษา บริษัทจดทะเบียนเพื่อเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO). การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2560ก). การเข้าจดทะเบียนและผลิตภัณฑ์ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2560, จาก : https://www.set.or.th/th/products/listing2/listing_set_p1.html.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2560ข). บริษัท/หลักทรัพย์จดทะเบียนเข้าใหม่ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2560, จาก : https://www.set.or.th/set/ipo.do?language=th&country=TH.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2563ก). การกำกับดูแลกิจการที่ดีของตลาดหลักทรัพย์ฯ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2563, จาก : https://www.set.or.th/th/about/overview/setcg_p2.html?Printable =true.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2563ข). หลักทรัพย์ IPO [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2560, จาก : https://www.set.or.th/set/ipo.do.

เบญจมาศ อุปดิษฐ์. (2550). สัญญาณเตือนภัยการตกแต่งบัญชี : กรณีศึกษา บริษัท รอยเนท จำกัด (มหาชน) และบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน). การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พรทวี บุญเวียง. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยงต่อการล้มละลายกับการจัดการกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย SET 100. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

พิรพร ไชยชาญ. (2550). สัญญาเตือนภัยการตกแต่งบัญชี : กรณีศึกษา บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) และบริษัท นิปปอนแพ็ค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน). การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ภาพร เอกอรรถพร. (2553). กลบัญชีด้านเดบิต. วารสารวิชาชีพบัญชี, 6(15), 19 - 22.

ลักขณา แซ่ลิ่ม. (2552). แบบจำลองเพื่อค้นหาการตกแต่งบัญชี กรณีศึกษา : บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วรวิทย์ เพ็ชรรื่น. (2561). พฤติกรรมการตกแต่งบัญชีและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 13(1), 29 – 40.

วรศักดิ์ ทุมมานนท์. (2543). คุณรู้จัก Creative Accounting และคุณภาพกําไรแล้วหรือยัง?. กรุงเทพฯ : ไอโอนิค อินเตอร์เทรด รีซอสเซส. 202 หน้า.

ศิริพร ถมยาพิทักษ์. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคมของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุภรัตน์ ตัณฑ์พรชัย. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการตกแต่งกำไรกับการกำกับดูแลกิจการในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Beneish, M. D. (1999). The Detection of Earnings Manipulation [Online]. Retrieved March 11th, 2018, Available : https://www.calctopia.com/papers/beneish1999.pdf.

Healy, P. M. and Wahlen, J. M. (1999). A Review of the Earnings Management Literature and Its Implications for Standard Setting. Accounting Horizons, 13(4), 365 – 385.

Ramírez-Orellana, A., Martínez-Romero, M. J., Mariño-Garrido, T. (2017). Measuring Fraud and Earnings Management by a Case of Study : Evidence from an International Family Business. European Journal of Family Business, 7(1 – 2), 41 – 53.

Talab, H. R., Flayyih, H. H., Ali, S. I. (2017). Role of Beneish M-score Model in Detecting of Earnings Management Practices : Empirical Study in Listed Banks of Iraqi Stock Exchange. International Journal of Applied Business and Economic Research, 15(23), 287 – 302.

Schilit, H. M. (1993). Financial Shenanigans : How to Detect Accounting Gimmicks and Fraud in Financial Reports [Online]. Retrieved March 11th, 2018, Available : http://digilib.stiem.ac.id: 8080/jspui/bitstream/123456789/230/1/Financial%20Shenanigans.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-25