การวิเคราะห์พฤติกรรมการเลือกสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมาโดยใช้เทคนิคเหมืองข้อมูล

ผู้แต่ง

  • กนกนต กล่อมจอหอ นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์ คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • วราภรณ์ ต้วมสูงเนิน นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์ คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • พนิดา หล่อวงศ์ตระกูล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

คำสำคัญ:

เหมืองข้อมูล, การจัดกลุ่ม, กฎความสัมพันธ์, สถานที่ท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

การวางแผนเลือกสถานที่ท่องเที่ยวเป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ่งนักท่องเที่ยวใช้เวลาค่อนข้างมากในการตัดสินใจเลือกสถานที่ท่องเที่ยว งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการเลือกสถานที่ท่องเที่ยว โดยใช้เทคนิคเหมืองข้อมูล 2) จัดอันดับปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการเลือกสถานที่ท่องเที่ยว และ 3) จัดอันดับสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมทำการเก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยวด้วยแบบสอบถามจำนวน 884 ตัวอย่าง แบ่งกลุ่มนักท่องเที่ยวออกเป็น 3 กลุ่ม โดยใช้อัลกอริทึม K-Means และวิเคราะห์หากฎความสัมพันธ์ของการเลือกสถานที่ท่องเที่ยวในแต่ละกลุ่ม โดยใช้วีธี Apriori ผลที่ได้จากการวิเคราะห์ คือ พฤติกรรมการเลือกสถานที่ท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว 3 กลุ่ม แบ่งเป็น การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ 10 กฎ การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม 10 กฎ การท่องเที่ยวเชิงผสมผสานระหว่าง 2 กลุ่ม 10 กฎ และผลการจัดอันดับปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการเลือกสถานที่ท่องเที่ยว พบว่า นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญกับความสวยงามของสถานที่ท่องเที่ยวมากที่สุดและสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยม 5 อันดับแรก คือ 1) อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี 2) อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 3) ตลาดนัดเซฟวัน 4) วัดศาลาลอย  5) สวนสัตว์นครราชสีมา จากผลการวิจัยสามารถนำไปใช้สนับสนุนการตัดสินใจในการเลือกสถานที่ท่องเที่ยว และเป็นแนวทางในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมา

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2563). แผนปฏิบัติการของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ประจำปีงบประมาณ 2562 [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 31 มกราคม 2563, จาก : https://www.tat.or.th/th.

สุถี เสริฐศรี. (2557). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในชุมชนคลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

นโรดม กิตติเดชานุภาพ. (2558). การพัฒนาแบบจำลองแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวรายบุคคล. วิทยานิพนธ์วิทยาการสารสนเทศดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

บัญชา เหลือผล, ธนกร ญาณกาย, ภัทรวรัญญ์ ศรีฮาตร. (2558). การหาความสัมพันธ์ของปัจจัยในการเลือกสถานที่ท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ ด้วยเทคนิคเอไพรออริ. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์.

ยโสธารา ศิริภาประภากร. (2563). การศึกษาจุดยุทธศาสตรเสนทางการทองเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกับการพัฒนา ระหวางราชอาณาจักรไทยและกัมพูชา. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 4(1), 53 - 66.

วิโรจน์ ยอดสวัสดิ์, สาโรช ปุริสังคหะ, วิมล กิตติรักษ์ปัญญา, อนงค์นาฏ ศรีวิหค. (2560). การสร้างตัวแบบนักท่องเที่ยวภายในประเทศโดยใช้เทคนิคการจัดกลุ่มและกฎความสัมพันธ์ กรณีศึกษา: จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 27(4), 829 – 841.

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครราชสีมา. (2563). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560 - 2564 [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 31 มกราคม 2563, จาก : https://nakhonratchasima.mots.go.th/ index.php.

สำนักงานสถิติจังหวัดนครราชสีมา. (2563). สถานการณ์การท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2562 [ออนไลน์], ค้นเมื่อ 31 มกราคม 2563, จาก : http://nkrat.nso.go.th/index.php?option=com_content& view=featured& Itemid=435.

อเมซิ่งไทยแลน์. (2563). วางแผนเที่ยว [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 31 มกราคม 2563, จาก : https://thai.tourismthailand. org/Home.

Ghofrani, J., Bozorgmehr, A., Panah, A. (2018). A Fast Algorithm Based on Apriori Algorithms to Explore the Set of Repetitive Items of Large Transaction Data. In the 2nd International Conference on Compute and Data Analysis (ICCDA 2018), March 23th – 25th, 2018. 13 – 19. New York : Association for Computing Machinery.

Yamane, T. (1967). Taro Statistic : An Introductory Analysis. (2nd edition.) New York : Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-25