การประยุกต์ใช้วิธีการ K-Means-TSP สำหรับแก้ปัญหาการจัดเส้นทางขนส่ง : กรณีศึกษา บริษัท แสงชัยรุ่งเรือง จำกัด

ผู้แต่ง

  • อัจฉรา ชุมพล อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และระบบอัตโนมัติ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • นรงค์ วิชาผา อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • ไพฑูรย์ ทิพย์สันเทียะ อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

ฮิวริสติกแบบสองเฟส, การแก้ปัญหาการจัดเส้นทางการขนส่ง, เคมีน, ปัญหาการเดินทางของพนักงานขาย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการนำเสนอวิธีฮิวริสติกสำหรับการแก้ปัญหาการจัดเส้นทางการขนส่ง (Capacitated Vehicle routing problem, CVRP) โดยประยุกต์ใช้วิธีการ K-means-TSP สำหรับการหาผลเฉลยของปัญหาการขนส่งสินค้าประเภทขนมของบริษัทกรณีศึกษาในจังหวัดกาฬสินธุ์  โดยวิธีการที่นำเสนอประกอบด้วย 2 เฟส  เฟสแรกเป็นการประยุกต์ใช้วิธีการ K-means ในการจัดกลุ่มลูกค้า และเฟสที่สอง แต่ละกลุ่มของลูกค้าจะถูกจัดลำดับการขนส่งสินค้าโดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับปัญหาการเดินทางของพนักงานขาย (Travelling Salesman Problem: TSP) ผลการทดลองพบว่า วิธีการที่นำเสนอให้ผลลัพธ์อยู่ในระดับที่ดี โดยวิธีการที่นำเสนอเมื่อเทียบกับแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับปัญหา VRP และเทียบกับประสบการณ์ของพนักงานขับรถ พบว่า มีความคลาดเคลื่อน +19.00% และ -20.49% ตามลำดับ

References

เมธาพร คงทอง. (2556). การจัดกลุ่มลูกค้าค้างชำระของสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

นรงค์ วิชาผา, ไทยทัศน์ สุดสวนสี, พรเทพ ขอขจายเกียรติ. (2562). การแก้ปัญหาการจัดเส้นทางการขนส่งแบบมีกรอบเวลาโดยใช้วิธีเชิงพันธุกรรมแบบผสมผสานด้วยฮิวริสติกส์แบบแทรกไปข้างหน้าและวิธีการค้นหาคำตอบเฉพาะที่. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 29(1), 4 - 13.

พัชณี มีบัว และจิราวัลย์ จิตรถเวช. (2558). การจัดกลุ่มลูกค้าของบริษัทโลจิสติกส์ที่ให้บริการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ทางทะเลระหว่างประเทศ. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 43(2), 297 - 308.

วันดี สุฉันทบุตร, สรวิชญ์ เยาวสุวรรณไชย, วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ. (2556). การจัดกลุ่มผู้ส่งมอบด้วย Cluster Analysis เพื่อพัฒนาผู้ส่งมอบในธุรกิจค้าปลีก. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(3), 72 - 85.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). รายงานโลจิสติกส์ของประเทศไทย ประจำปี 2561 [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2563, จาก : https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=9359.

อรนุช ชัยหมื่น. (2548). การศึกษาเปรียบเทียบแบ่งกลุ่มข้อมูลลูกค้าสินค้าหัตถกรรมไทยโดยวิธีขั้นตอนของ SOM กับ K-Means Algorithm และ Hierarchical Clustering and K-Means Algorithm. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์.

Kuo, R. J., Ho, L. M., Hu, C. M. (2002). Integration of Self-Organizing Feature Map and K-Means Algorithm for Market Segmentation. Computers & Operations Research, 29(11), 1475 - 1493.

Laporte, G. (1992). The Vehicle Routing Problem : An Overview of Exact and Approximate Algorithms. European Journal of Operational Research, 59(3), 345 - 358.

Wichapa, N. and Khokhajaikiat, P. (2018). Solving a Multi-Objective Location Routing Problem for Infectious Waste Disposal Using Hybrid Goal Programming and Hybrid Genetic Algorithm. International Journal of Industrial Engineering Computations, 9(1), 75 - 98.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-23