การพัฒนาระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทานธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ในจังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • ปิยศักดิ์ สีดา อาจารย์ประจำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

โลจิสติกส์, โซ่อุปทาน, ระบบ, ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME)  ในจังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อวิเคราะห์ระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน และ 3) เพื่อหาแนวทางพัฒนาระบบโลจิสติกส์และ โซ่อุปทาน งานวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้านlสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจกลุ่มทอผ้าไหมบ้านท่าสว่าง ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 13 คน และสร้างแบบสอบถามเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจำนวน 375 ชุด จากกลุ่มตัวอย่างวิสาหกิจชุมชน/เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ ที่ดำเนินกิจการที่เกี่ยวกับผ้าไหม โดยเลือกการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า สภาพการจัดการธุรกิจในการทอผ้าไหมของกลุ่มทอผ้าไหมบ้านท่าสว่าง มีการปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลานานหลายสิบปีโดยถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น และปัจจุบันมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมที่มีความทันสมัยและเป็นที่นิยมของตลาด สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามยังจำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิตมากที่สุด ผลการวิเคราะห์ระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของธุรกิจ SME ในจังหวัดสุรินทร์ ประกอบด้วย 1) ด้านการวางแผน 2) ด้านการจัดหาวัตถุดิบ 3) ด้านการผลิต และ 4) ด้านการส่งมอบ ซึ่งผลการวิเคราะห์โดยรวม อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x} = 3.95) นอกจากนี้ผลการพัฒนาระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน พบว่า 1) ด้านการวางแผน ควรมีการจดทะเบียนการค้าให้ถูกต้องและมีการสร้างเครือข่าย 2) ด้านการจัดหาวัตถุดิบ ควรมีการสร้างเครือข่ายวัตถุดิบและมีการผลิตวัตถุดิบเอง การตั้งสถานประกอบการควรใกล้แหล่งวัตถุดิบ 3) ด้านการผลิต ควรเพิ่มศักยภาพพนักงานฝ่ายผลิตและมีการอบรมอย่างสม่ำเสมอ 4) ด้านการส่งมอบ ควรจัดทำสัญญาการส่งมอบสินค้าทุกครั้ง การให้บริการรถรับส่งสินค้าด้วยตนเองจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นและลดความเสี่ยง และการให้ลูกค้ามารับสินค้าด้วยตนเองจะช่วยลดต้นทุนในการขนส่งและบริการ นอกจากนี้การส่งมอบสินค้ากับไปรษณีย์ไทยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจจะมีความมั่งคงและช่วยลดต้นทุน

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2562). รายงานรายชื่อและจำนวนสมาชิกของวิสาหกิจชุมชน/เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน [ออนไลน]. คนเมื่อ 15 กรกฏาคม 2562, จาก : http://smce.doae.go.th/smce1/report/ report_smce01.php?page_size=20&PAGE=548&startPage=548&endPage=688.

จิตติมา บุตรพันธุ์ และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2558). การจัดการโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทานการผลิตก๋วยเตี๋ยวเส้นสดในจังหวัดนครปฐม. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 8(2), 1796 - 1811.

ชนิศา มณีรัตนรุ่งโรจน์ และขวัญกมล ดอนขวา. (2561). การจัดการโซ่อุปทานของผ้าไหมในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 12(2), 85 - 107.

ณาณเดช ชื่นจิตต์, นุกุล ชูแก้ว, พัชราวไล แก้วปลั่ง. (2562). แนวทางการจัดเส้นทางโลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 3(2), 15 - 23.

ณัฏฐ์ธนิน เอื้อศิลป์ และยุทธภูมิ ขุลาหล้า. (2561). การศึกษาสถานการณ์การค้าของผู้ประกอบการบริเวณ ด่านช่องจอม จังหวัดสุรินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 8(1), 19 - 27.

ปิยะฉัตร จารุธีรศานต์ และจรีพร ศรีทอง. (2560). การส่งเสริมการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน : กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์โอทอป จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 7(2), 190 - 201.

ยงยุทธ ชัยรัตนาวรรณ. (2557). วิวัฒนาการของการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 14(2), 129 - 138.

เศรษฐภูมิ เถาชารี และณัฎภัทรศญา เศรษฐโชติสมบัติ. (2558). การทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการวิเคราะห์และลดต้นทุนโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรม SMEs ในประเทศไทย. วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ., 8(2), 124 - 135.

สัญญา เคณาภูมิ. (2558). แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลของวิสาหกิจชุมชนในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 2(3), 68 - 86.

สุวรรณ หวังเจริญเดช. (2558). การบริหารต้นทุนโลจิสติกส์กับผลกำไรของธุรกิจ SMEs. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 9(18), 97 - 102.

Konneh, K. V., Helmi, S. A., Ma’aram, A., Hisjam, M. (2018). System Dynamics Approach to Supply Chain Performance Measurement in Small and Medium Enterprise. In the International Conference on Industrial Engineering & Operations Management, March 6th – 8th, 2018. 2101–2110. Bandung : Institut Teknologi Bandung.

Lagarda Leyva, E. A., Bueno Solano, A., Cedillo Campos, M. G., Velarde Cantú, J. M. (2018). Case study: Supply Chain Scenarios in a Plastic Container Company. Nova Scientia, 10(20), 510 – 538.

บุคลานุกรม

ปราชญ์ชาวบ้าน ก. (ผู้ให้สัมภาษณ์). ปิยศักดิ์ สีดา (ผู้สัมภาษณ์).ที่ บ้านท่าสว่าง ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ 32000. เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2562.

ผู้นำชุมชน ก. (ผู้ให้สัมภาษณ์). ปิยศักดิ์ สีดา (ผู้สัมภาษณ์).ที่ บ้านท่าสว่าง ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ 32000. เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2562.

ผู้นำชุมชน ข. (ผู้ให้สัมภาษณ์). ปิยศักดิ์ สีดา (ผู้สัมภาษณ์). ที่ บ้านท่าสว่าง ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ 32000. เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2562.

สมาชิกกลุ่ม ก. (ผู้ให้สัมภาษณ์). ปิยศักดิ์ สีดา (ผู้สัมภาษณ์). ที่ บ้านท่าสว่าง ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ 32000. เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2562.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-23