แนวทางการพัฒนาการชำระหนี้ที่ค้างชำระหนี้สินเชื่อเพื่อการเกษตรของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรรัตนบุรี จำกัด อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • เพ็ญลักษณ์ เกษฎา นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การจัดการธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ธีรวัตร์ ภูระธีรานรัชต์ อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การจัดการธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • อุบลวรรณ สุวรรณภูสิทธิ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การจัดการธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

หนี้ค้างชำระ, หนี้สิน, การพัฒนา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยการค้างชำระหนี้สินเชื่อเพื่อการเกษตรของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรรัตนบุรี จำกัด 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยการค้างชำระหนี้สินเชื่อเพื่อการเกษตร จำแนกตามจำนวนวงเงินกู้ ระยะเวลาการเป็นสมาชิก และประเภทของหลักประกัน และ 3) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการชำระหนี้ที่ค้างชำระสินเชื่อเพื่อการเกษตรของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรรัตนบุรี จำกัด โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากสมาชิกจำนวน 227 ราย สถิติที่ใช้คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว หลังจากนั้นได้ดำเนินการวิจัยขั้นที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีสนทนากลุ่ม กับผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 12 ราย  ผลการวิจัย พบว่าปัจจัยการค้างชำระหนี้สินเชื่อในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ส่วนการทดสอบสมมติฐานระหว่างจำนวนวงเงินกู้ ระยะเวลาการเป็นสมาชิก และประเภทของหลักประกัน กับปัจจัยค้างชำระหนี้ พบว่า ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P > 0.05) นอกจากนี้ผลการหาแนวทางการพัฒนาการชำระหนี้ที่ค้างชำระสินเชื่อเพื่อการเกษตร พบว่า ควรให้ภาครัฐที่เกี่ยวข้องหรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มีการอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้แก่เกษตรกรด้านส่งเสริมการประกอบอาชีพเกษตรกรรม

References

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2561). สรุปผลการประเมินสำนักงานสหกรณ์จังหวัด/สำนักงานส่งเสริมสหกรณ์ ประจำปี 2559 งบประมาณ 2551 – 2558 [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2561, จาก https://www.cad.go.th/more_news.php?offset=1680&cid=1930&filename=index.

กวิน มุสิกา, สุชนนี เมธิโยธิน, บรรพต วิรุณราช. (2562). แนวทางการบริหารหนื้สินเกษตรกรไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7(1), 111 - 125.

ชัยนิพนธ์ บุตตา. (2550). การชำระหนี้ของสหกรณ์การเกษตร : กรณีศึกษาสหกรณ์การเกษตรหนองสูง จำกัด อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.

ฤทัยรัตน์ ดวงชื่น. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพการชำระหนี้ของลูกค้าเงินกู้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาจอมบึง จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สหกรณ์การเกษตรรัตนบุรี. (2560). รายงานการดำเนินงานสหกรณ์การเกษตรรัตนบุรี [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2561, จาก http:// http://www.rattanaburicoop.com/

สุกานดา กลิ่นขจร และนรรัฐ รื่นกวี. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาระหนี้สินของเกษตรกรจังหวัดนครราชสีมา กรณีศึกษาอำเภอด่านขุนทด และอำเภอโนนสูง. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2561). ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2561 และแนวโน้มปี 2562 [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 23 มกราคม 2562, จาก http://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/bappdata/files/ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2561 และแนวโน้มปี 2562.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-07