พฤติกรรมการซื้อข้าวอินทรีย์ของผู้บริโภคในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ:
พฤติกรรมผู้บริโภค, การซื้อข้าวอินทรีย์, เขตเทศบาลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อข้าวอินทรีย์ของผู้บริโภคในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดสุรินทร์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการซื้อข้าวอินทรีย์ และเพื่อศึกษา ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการซื้อข้าวอินทรีย์ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ความความถี่ ร้อยละ และการทดสอบค่าไค-สแควร์ (Chi-Square) ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลในการซื้อข้าวอินทรีย์จากพนักงานขาย/ตัวแทนจำหน่าย บริโภคข้าวอินทรีย์ต่อเดือน เดือนละ 5 กิโลกรัมขึ้นไป โดยมีแหล่งที่ซื้อจากห้างสรรพสินค้า มีความถี่ในการซื้อข้าวอินทรีย์ 5 ครั้งต่อเดือนขึ้นไป ส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายในการซื้อต่อครั้ง ระหว่าง 100-200 บาท โดยให้เหตุผลในการซื้อ คือ คุณประโยชน์ของข้าวอินทรีย์ ส่วนใหญ่ซื้อราคา 51-60 บาทต่อกิโลกรัม และส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการซื้อข้าวอินทรีย์เนื่องจากการประชาสัมพันธ์ นอกจากนี้ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการเลือกซื้อข้าวอินทรีย์ พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้อข้าวอินทรีย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการศึกษา ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ พบว่า ปัญหาในการซื้อข้าวอินทรีย์เนื่องจากการประชาสัมพันธ์ยังไม่ทั่วถึงเท่าที่ควร ทำให้การซื้อข้าวอินทรีย์ไม่สะดวก การขาดความรู้ด้านข้าวอินทรีย์ ตลอดจนแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์มีน้อย ทั้งนี้ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ และแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับข้าวอินทรีย์ ร้านค้า/สถานที่จำหน่ายข้าวอินทรีย์ควรมีการติดป้ายที่ชัดเจน และควรเน้นการประชาสัมพันธ์ให้มาก
References
กรมวิชาการเกษตร. (2550). การผลิตข้าวอินทรีย์ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 9 เมษายน 2559, จาก http:// www.doa.go.th.
กริช สุปินะเจริญ. (2556). ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อข้าวอินทรีย์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร. (2555). สรุปข้อมูลจังหวัดสุรินทร์ 2555. สุรินทร์ : สำนักงานจังหวัดสุรินทร์.
ณรงศักดิ์ ศุพิรัตน์วนิช. (2550). พฤติกรรมของผู้บริโภคต่อการเลือกซื้อข้าวกล้องในอำเภอเมืองเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธรรมากร กุลบริคุปต์. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อข้าวอินทรีย์ของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี : สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.
พรพิจิตร สุรสังกาศ. (2551). การศึกษาปัจจัยที่มีลกระทบต่อพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค ร้านจำหน่ายสินค้าดอยคำ โครงการหลวง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
สุนีย์ เตชเถกิง. (2551). ความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
สุวิมล แม้นจริง. (2546). การจัดการการตลาด. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : เอช. เอ็น. กรุ๊ป.
Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. (3rd edition). New York : John Wiley and Sons Inc.
Kotler, P. (2000). Marketing Management: The Millennium Edition. New Jersey : Prentic – Hall.