โมเดลความตั้งใจเชิงพฤติกรรมของผู้บริโภคคนไทยในการซื้อสินค้า บนอุปกรณ์มือถือในกลุ่มช่วงวัย
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ , ความตั้งใจเชิงพฤติกรรม , กลุ่มช่วงวัย , อุปกรณ์มือถือบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณที่มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1) เพื่อพัฒนาโมเดลความตั้งใจเชิงพฤติกรรมของผู้บริโภคคนไทยในการซื้อสินค้าบนอุปกรณ์มือถือในกลุ่มช่วงวัย และ 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมของคนไทยในการซื้อสินค้าบนอุปกรณ์มือถือในกลุ่มช่วงวัยประชากรของงานวิจัยเป็นคนไทยที่เคยซื้อสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ตจำนวน 2,359,089 คน และกลุ่มตัวอย่างเป็นคนไทยอายุ 20-69 ปีที่พักอาศัยในกรุงเทพมหานครที่เคยซื้อสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ตเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงกับวัตถุประสงค์การวิจัยที่ต้องการศึกษากลุ่มช่วงวัย 3 กลุ่ม คือ กลุ่มช่วงวัย Baby Boomers (อายุระหว่าง 50-69 ปี), กลุ่มช่วงวัย X (อายุระหว่าง 35-49 ปี) และกลุ่มช่วงวัย Y (อายุระหว่าง 20-34 ปี) โดยเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามแบบ 7-point Likert scales สอบถามระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตและการซื้อสินค้าบนอุปกรณ์มือถือ
ผลการวิเคราะห์ปัจจัย พบว่ามีองค์ประกอบ 8 ประการ คือ ความเสี่ยงที่รับรู้ ราคาที่รับรู้ การบอกต่อปากต่อปากทางอิเล็กทรอนิกส์ ภาพลักษณ์ของแบรนด์ ทัศนคติ ความไว้วางใจ คุณค่าที่รับรู้ที่ส่งผลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรม ผลการทดสอบโมเดล พบว่ามีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์และยอมรับสมมติฐานทั้ง 13 ข้อและการวิเคราะห์แบบกลุ่มพหุ (multiple-group analysis) กลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่มช่วงวัยไม่มีความแตกต่างกัน และสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์รวมในโมเดลเดียวกันได้ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ยอมรับสมมติฐานทั้ง 13 ข้อ สรุปได้ว่า โมเดลความตั้งใจเชิงพฤติกรรมของผู้บริโภคคนไทยในการซื้อสินค้าบนอุปกรณ์มือถือสามารถใช้ได้กับกลุ่มช่วงวัยคนไทยได้
References
นรินทร์ ตันไพบูลย์. (2567). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2567-2569: ธุรกิจร้านค้าปลีกสมัยใหม่. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2567, จาก : https://thaitara.org/wp-content/uploads/2024/02/SO_Industry_Outlook_2024_2026_240109_TH_EX_BAY.pdf
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ.2565. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
Bezes, C. (2016). Comparing online and in-store risks in multichannel shopping. International Journal of Retail & Distribution Management. 44(3), 284-300.
Bianchi, C., & Andrews, L. (2012). Risk, trust, and consumer online purchasing behavior: A Chilean perspective. International Marketing Review, 29(3), 253-276.
Bryne, B.M. (2016). Structural Equation Modeling with Amos. New York, Routledge.
Garbarino, E., & Strahilevitz, M. (2004). Gender differences in the perceived risk of buying online and the effects of receiving a site recommendation. Journal Business Research. 57, 768-775.
Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J., & Anderson, R.E. (2010). Multivariate Data Analysis. New Jersey: Pearson Education.
Huang, Y., & Oppewal, H. (2006). Why consumers hesitate to shop online?. International Journal of Retail & Distribution Management. 34 (4/5), 334-353.
Jaruwanchirathanakul, B., & Fink, D. (2005). Internet banking adoption strategies for a developing country: the case of Thailand. Internet Research, 15, 3, 295-311.
Kline, R.B. (2016). Principles and Practices of Structural Equation Modeling. New York: the Guilford Press.
Lien, C.H., Wen, M.J., Huang, L.C., & Wu, K.L. (2015). Online hotel booking: The effects of brand image, price, trust and value on purchase intentions. Asia Pacific Management Review. 20, 210-218.
Quach, T.N., Thaichon, P., & Jebarajakirthy, C. (2016). Internet service providers’ service quality and its effects on customer loyalty of different usage patterns. Journal of Retailing and Consumer Services. 29, 104-113.
Schumacker, R.E., & Lomax, R.G. (2016). A Beginner’s Guide to Structural Equation Modeling. New York: Routledge.
Smutkupt, P., Krairit, D., & Khang, D.B. (2012). Mobile marketing and consumer perceptions of brand equity. Asia Pacific Journal of Marketing and Logistics. 24(4), 539-560.
Taufique, K.R., Sabbir, M.M., Quinton, S., & Andaleeb, S.S. (2024). The different impact of utilitarian and hedonic attributes on web-based retail shopping behavior through the lens of extended technology acceptance model. International Journal of Retail & Distribution Management. 52(4), 443-460.
Thaichon, P., Lobo, A., Prentice, C., & Quach, T.N. (2014). The development of service quality, dimensions of internet service providers: Retaining customers of different usage patterns. Journal of Retailing and Consumer Services. 21, 1047-1058.
Wagner, G., Schramm-Klien, H., and Steinmann, S. (2017). Consumers’ attitudes and intentions toward Internet-enabled TV shopping. Journal of Retailing and Consumer Services. 34, 278-286.