แนวทางการธำรงรักษาพนักงานขับรถบรรทุกที่มีความตั้งใจลาออก กรณีศึกษา บริษัท XYZ Transport จำกัด
คำสำคัญ:
ความตั้งใจที่จะลาออก, ปัจจัยจูงใจ , ปัจจัยค้ำจุน , การธำรงรักษาพนักงานบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจที่จะลาออกของพนักงานขับรถบรรทุก 2) เพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นกับพนักงาน ข้อร้องเรียน หรือสวัสดิการต่างๆที่พนักงานต้องการ ซึ่งอาจมีอิทธิพลต่อความตั้งใจที่จะลาออกของพนักงานขับรถบรรทุก และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการธำรงรักษาพนักงานขับรถให้อยู่กับองค์กรได้ยาวนาน โดยทำการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามออนไลน์ (Google Form) ด้วยวิธีการให้พนักงานขับรถสแกนคิวอาร์โค้ดหรือลิงค์แบบสอบถามผ่านมือถือ เพื่อเข้าไปดำเนินการตอบแบบสอบถาม จากพนักงานขับรถบรรทุกทั้งหมด 119 ราย เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) นอกจากนั้นยังใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ของแต่ละตัวแปรที่ทำการศึกษาตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
ผลการศึกษาพบว่า พนักงานขับรถบรรทุกที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (82.40%) อายุ 26-35 ปี (57.10%) มีระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. (31.10%) มีสถานภาพโสด (47.90%) มีอายุงาน 1-3 ปี (36.10%) และมีรายได้ต่อเดือน อยู่ระหว่าง 15,001-20,000 บาท (46.10%) โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจที่จะลาออกของพนักงานขับรถบรรทุกในปัจจัยด้านต่างๆ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ปัจจัยจูงใจด้านความสำเร็จในการทำงานของบุคคล และปัจจัยค้ำจุนด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รวมถึงผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า พนักงานขับรถบรรทุก มีปัจจัยส่วนบุคคลด้านรายได้ต่อเดือนต่างกัน ส่งผลต่อความตั้งใจที่จะลาออกของพนักงานขับรถบรรทุกแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.027 นอกจากนี้ ปัจจัยจูงใจด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ ปัจจัยด้านความสำเร็จในการทำงานของบุคคล และปัจจัยค้ำจุน ด้านบริษัทและนโยบายในการบริหาร มีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกต่อความตั้งใจที่จะลาออกของพนักงานขับรถบรรทุก ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
Ampaiwong, N. (2016). Factors Related To The Decision To Resign (Changing Employers) Of Transport Drivers In The Eastern Seaboard Industrial Area And Amata City Industrial Area (Master’s thesis, Graduate School of Commerce, Burapha University).
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York : Harper Collins Publishers. (pp.202-204)
Herzberg, Frederick. (1966). Work and Nature of man. Cleveland : Word Publishing Company.
Kotler, P. and Keller, K.L. (2012). Marketing Management. 14th Edition, Pearson Education.
Likert, R. A. (1932). Technique for the Measurement of Attitude. Archives Psychological. 3(1), pp. 42-48.
Mowday, R. Steers R.M. and L. Porter. (1981). Employee Organization. Linkage : The Psychology of Commitment, Absentecism and Turnover. New York : Academy Prees.
Luangprasert, P. (2020). Employees' Intention to Stay and Leave Analytics: A Case Study of Biscuit and Gum Manufacturing (Master's Thesis, National Institute of Development Administration, Bangkok).
MENA TRANSPORT PUBLIC.CO.,LTD. (2024). customer service (Online). Retrieved April 14, 2024, from https://www.menatransport.co.th /ready-mixed-concrete/
Sunpong, J. (2015). Problems and obstacles in the duties of enlisted soldiers at Phanu Rangsit Camp, Ratchaburi Province (Master's thesis, Stamford International University).