ปัจจัยที่มีผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าที่มีต่อร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
ความจงรักภักดี , ลูกค้า , ร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างความจงรักภักดีที่มีต่อร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 2) เพื่อนำผลการศึกษาไปประยุกต์ใช้ในการกำหนดนโยบาย หรือแผนการตลาดให้กับร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม มีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้จำนวน 400 คนเป็นลูกค้าที่เข้ามาซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม จากการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิเพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างแต่ละอำเภอในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย
ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลของลูกค้าที่มีต่อร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม ส่วนใหญ่พบว่าเป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 26-33 ปี การศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า มีอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน มีรายได้ 5,001-15,000 บาท มีสถานภาพสมรส มีความถี่ 4-5 ครั้งต่อสัปดาห์ในการใช้บริการร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม มีเหตุผลทำเลที่ตั้ง ใกล้ที่ทำงาน/ใกล้บ้าน และมีสินค้าประเภทเครื่องดื่มยี่ห้อต่างๆ ที่ซื้อเป็นประจำ และเมื่อศึกษาปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด และปัจจัยความจงรักภักดีของลูกค้าที่มีต่อการซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าที่มีต่อร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม พบว่า เมื่อพิจารณาโดยรวมตัวแปรอิสระทุกตัวร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของลูกค้าที่มีต่อร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
ฐิติพร จาตุรวงศ์. (2561). เจาะธุรกิจค้าปลีกใหม่. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ นำอักษรการพิมพ์.
ปัทมวรรณ เกื้อโกมลเดช. (2564). การศึกษาส่วนประสมการค้าปลีกของห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลที่มีความสัมพันธ์กับความจงรักภักดีของลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
พิริยะ แก้ววิเศษ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยในการสร้างตราสินค้าและความจงรักภักดีในตราสินค้าของลูกค้าธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มะลิวัลย์ แสงสวัสดิ์. (2563). ปัจจัยความเชื่อมั่นและความภักดีที่มีอิทธิพบต่อการตัดสินใจใช้บริการ
ห้างสรรพสินค้า กรณีห้างสรรพสินค้าชั้นนําในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2564). การวัดด้านจิตพิสัย. กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาสน์.
สัญญ์ตรา จดจำ. (2562). บทความจากบอร์ดการศึกษา Executive MBA รุ่น 15. ขอนแก่น : วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อนุศาสตร์ สระทองเวียน. (2563). ธุรกิจค้าปลีกประเทศไทย. วารสารนักบริหารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 30(3), 70-83.
อาภาพร จงนวกิจ. (2562). อิทธิพลของกลยุทธ์การจัดการส่วนประสมการค้าปลีกและกลยุทธ์การบริหารลูกค้า
สัมพันธ์ที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม อําเภอเมือง จังหวัดราชบุรี.
วารสารศิลปากรฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตรสังคมศาสตร์และศิลปะ, 12(2), 97-103.
Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. 3d ed. New York: John Wiley and Sons Inc.
Cochran, W. G. (1990). Statistical Methods. 8th Edition, Iowa State University Press, Ames.