การรับรู้คุณค่าและความพึงพอใจต่อบรรจุภัณฑ์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารพร้อมทานในร้านสะดวกซื้อ เขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
บรรจุภัณฑ์อาหารพร้อมทาน , อาหารพร้อมทาน , การตัดสินใจซื้อ , บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมบทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ 2) ศึกษาปัจจัยด้านการรับรู้คุณค่าที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อบรรจุภัณฑ์ของผู้บริโภคที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารพร้อมทานในร้านสะดวกซื้อ เขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้ใช้รูปแบบวิธีการวิจัยแบบเชิงปริมาณ ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการสร้างแบบสอบถามเพื่อเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้บริโภคที่เคยรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทานในร้านสะดวกซื้อ จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 483 คน ผลการทดสอบสมมติฐานในด้านปัจจัยด้านการรับรู้คุณค่าที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ พบว่า ปัจจัยการรับรู้คุณค่าด้านสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลกับการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคมากที่สุด รองลงมาคือ ปัจจัยการรับรู้คุณค่าด้านราคา และจากผลการทดสอบสมมติฐานในด้านปัจจัยด้านความพึงพอใจที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ พบว่า ปัจจัยความพึงพอใจความปลอดภัยมีอิทธิพลกับการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคมากที่สุด รองลงมาคือ ความพึงพอใจด้านความสะดวกสบายในการใช้งาน ความพึงพอใจด้านการปกป้องผลิตภัณฑ์ ความพึงพอใจด้านการส่งเสริมการขาย และความพึงพอใจด้านประเภทของบรรจุภัณฑ์
References
กนกอร วิเศษโวหาร. (2564). การรับรู้คุณค่าบรรจุภัณฑ์กระดาษต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารบรรจุภัณฑ์กระดาษของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ หลักสูตรปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล.
กนกวรรณ คงธนาคมธัญกิจ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้ออาหารเพื่อสุขภาพในรูปแบบพร้อมทานของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กรมควบคุมมลพิษ. (2560). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2559 กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : บริษัท หัวใหญ่ จำกัด. 174 หน้า.
จิรารัตน์ จันทวัชรากร. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทานในร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 8(1), 30 – 51.
ณัฐวุฒิ รัตนะ. (2565). การศึกษากระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าที่ใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม จากผู้บริโภคกลุ่มวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. สารนิพนธ์ หลักสูตรปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล.
พิมพ์ชนก คล้ายทองคำ. (2562). แนวทางการพัฒนากลยุทธ์การตลาดบรรจุภัณฑ์กล่องใส่อาหารจากกระดาษ ในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ หลักสูตรปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล.
ภารดี คำจริง. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารพร้อมปรุงเพื่อสุขภาพ (Ready to cook) ในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ หลักสูตรปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล.
มานิตย์ กมลสุวรรณ. (2565). ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ชี้ต้นทุนพุ่งอัพราคา 30%. ประชาชาติธุรกิจ [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2566, จาก : https://www.prachachat.net/economy/news-884735
วัชระ สุขเกษม. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารแช่เย็นพร้อมรับประทานผ่านร้านสะดวกซื้อของกลุ่มคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ หลักสูตรปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล.
Wanna Yongpisanphob (2564). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2564-2566: อุตสาหกรรมอาหารพร้อมทาน. วิจัยกรุงศรี [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2566, จาก : https://www.krungsri.com/th/ research/industry/industry-outlook/food-beverage/beverage/io/io-beverage-20-th.
Brandbuffet (2018). สุขภาพและสิ่งแวดล้อม เร่งดีมานด์แพคเกจจิ้งทางเลือก พร้อมทานรอดบรรจุภัณฑ์พลาสติกต้องปรับตัวอย่างไร. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2566, จาก : https://www.brandbuffet.in.th/2018/08/ fest-innovation-packaging/.
Chen (2010). Atiitude towards the Environment and Green Product. Faculty of Management Multimedia. University Persiaran Multimedia.
Rajesh Mankani and Khushnuma Tata. (2022). A Study on Consumer Behaviour of Ready-to-Eat Food with Special Reference to Women in Mumbai. Journal of Positive School Psychology 2022, Vol.6, No.4, 4549-4562.4