การพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ท้องถิ่น: กรณีศึกษาศิลาโฮมสเตย์ จังหวัดขอนแก่น เพื่อยกระดับสู่ความยั่งยืนตามเป้าหมาย SDGs
คำสำคัญ:
ห่วงโซ่คุณค่าการท่องเที่ยว , การท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ท้องถิ่น , การพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)บทคัดย่อ
การท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ท้องถิ่นถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของชุมชน โดยสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) การวิจัยนี้เป็นการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ท้องถิ่นวิสาหกิจชุมชนศิลาโฮมสเตย์ จังหวัดขอนแก่น เป็นกรณีศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ 1.) วิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ท้องถิ่น 2.) วิเคราะห์ปัญหาและจัดทำแนวทางการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดให้กับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ท้องถิ่น และ 3.) พัฒนาห่วงโซ่คุณค่าการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ท้องถิ่น ให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 13 คน ประกอบไปด้วย สมาชิกของวิสาหกิจชุมชน เเละผู้เชี่ยวชาญทางด้านสื่อประชาสัมพันธ์ ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าการท่องเที่ยว วิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ สร้างกลยุทธ์ด้วย TOWS matrix การพัฒนาที่ยั่งยืนตามเป้าหมาย SDGs และ การระดมสมอง ผลการวิจัยพบว่ากิจกรรมหลักและกิจกรรมสนับสนุนในห่วงโซ่คุณค่าการท่องเที่ยวของวิสาหกิจชุมชนศิลาโฮมสเตย์มีบทบาทสำคัญในการสร้างคุณค่าของผลิตภัณฑ์และบริการการท่องเที่ยว แต่ขาดการวิเคราะห์กิจกรรมอย่างเป็นระบบทำให้เสียโอกาสในการสร้างรายได้และการจ้างงานให้กับสมาชิกของวิสาหกิจชุมชน คณะผู้วิจัยจึงดำเนินการพัฒนากลยุทธ์ รวมถึงการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์และโครงการบริการวิชาการสู่สังคม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนตามเป้าหมาย SDGs ข้อ 1 ยุติความยากจน ข้อ 4 การศึกษาอย่างมีคุณภาพ ข้อ 8 การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ข้อ 9 โครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน และข้อ 11 เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน
References
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.). (2567). ธุรกิจการท่องเที่ยว. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2567, จาก : https://datacatalog.tat.or.th/
ทีมข่าวคอร์ปอเรท-การตลาด กรุงเทพธุรกิจ. (2567). สถิติ 10 อันดับ ‘ต่างชาติเที่ยวไทย’ สูงสุดปี 2566. [ออนไลน์].ค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2567, จาก : https://www.bangkokbiznews.com/business/business/1107195
ประเสริฐ โยธิคาร์, ปรียา สมพืช, กัลยา นาคลังกา, วงศ์วิภา โถสุวรรณจินดา, คฑาวุฒิ สังฆมาศ, ณัฐกานต์ รองทอง, โสรยา งามสนิท และมรกต บุญศิริชัย. (2566). การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าทางการท่องเที่ยวของจังหวัดนครนายก. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 12(5), 220–233.
ปฤฐฎาง จันทร์บุญเรือง. (2566). การจัดทําป้ายบอกเล่าเรื่องราวในแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศตามเส้นทางจักรยาน จังหวัดเลย. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า, 8(2), 123-146.
ปาจรีย์ ผลประเสริฐ และกนิษฐา ศรีภิรมย์. (2564). การจัดการเชิงกลยุทธของวิสาหกิจชุมชนภายใต้สถานการณ์การ
ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 14(2), 229–245.
พนิตสุภา ธรรมประมวล และกาสัก เต๊ะขันหมาก. (2566). การพัฒนาสินค้าที่ระลึกจากภูมิปัญญาเพื่อส่งเสริมการ
ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมไทยพวน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 17(4), 16–27.
มหาวิทยาลัยศรีปทุม. (2567). SPU SDGS. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2567, จาก : https://www.spu.ac.th/sdgs/
เยาวภา เขื่อนคํา, สิทธิชัย วิมาลา, ลัญฉ์พิชา พิมพา และอเสกข์ เพ็ชรเฟื่อง. (2566). การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ด้วยการบริการวิชาการแก่ชุมชนของสํานักหอสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้. PULINET Journal, 10(1), 56-67.
รวีพร จรูญพันธ์เกษม. (2566). การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเมืองรองในอําเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี.
วารสารสหวิทยาการมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(5), 2522–2535.
วรลักษณ์ ระวังภัย, นิตติกร สุวรรณศิลป์, สิทธิ์ชัย ลิมาพร และพรรษมน บุษบงษ์. (2567). แนวทางการแก้ไขปัญหา
หนี้สินของประชาชนในจังหวัดภูเก็ต. วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, 7(1), 62-81.
วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ และ เวทยา ใฝ่ใจดี. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามแนวทางเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจของ SMEs สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 15(1), 101-119
อนุวัฒน์ ทองแสง และ ฉัตรวรัญช์ องคสิงห์. (2564). นวัตกรรมเชิงนิเวศน์, นวัตกรรมรากหญ้า กับการสนับสนุน
เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2030 : พหุกรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชน,วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (MSMEs). วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 8(3), 341-353.
บุคลานุกรม
กมล (ผู้ให้สัมภาษณ์). สิทธิศักดิ์ โพธิ์ศรี (ผู้สัมภาษณ์). ที่ ศิลาโฮมสเตย์ 87 หมู่ 6 บ้านท่าแก ตำบลศิลา อำเภอเมือง
จังหวัดขอนแก่น 40000. เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2566
เข็มพร (ผู้ให้สัมภาษณ์). สิทธิศักดิ์ โพธิ์ศรี (ผู้สัมภาษณ์). ที่ ศิลาโฮมสเตย์ 87 หมู่ 6 บ้านท่าแก ตำบลศิลา อำเภอ
เมือง จังหวัดขอนแก่น 40000. เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2566
ถนอม (ผู้ให้สัมภาษณ์). ณัฐภัทร จงอริยตระกูล (ผู้สัมภาษณ์). ที่ ศิลาโฮมสเตย์ 87 หมู่ 6 บ้านท่าแก ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000. เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2566
ถวิล (ผู้ให้สัมภาษณ์). ณัฐภัทร จงอริยตระกูล (ผู้สัมภาษณ์). ที่ ศิลาโฮมสเตย์ 87 หมู่ 6 บ้านท่าแก ตำบลศิลา อำเภอ เมือง จังหวัดขอนแก่น 40000. เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2566
บัวเต็ม (ผู้ให้สัมภาษณ์). สิทธิศักดิ์ โพธิ์ศรี (ผู้สัมภาษณ์). ที่ ศิลาโฮมสเตย์ 87 หมู่ 6 บ้านท่าแก ตำบลศิลา อำเภอ เมือง จังหวัดขอนแก่น 40000. เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2566
พิสมัย (ผู้ให้สัมภาษณ์). ณัฐภัทร จงอริยตระกูล (ผู้สัมภาษณ์). ที่ ศิลาโฮมสเตย์ 87 หมู่ 6 บ้านท่าแก ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000. เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2566
ภาณุพงษ์ (ผู้ให้สัมภาษณ์). ณัฐภัทร จงอริยตระกูล (ผู้สัมภาษณ์). ที่ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น 182/12 หมู่ 4 ถนนศรีจันทร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000. เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2566
วันพิชิต (ผู้ให้สัมภาษณ์). สิทธิศักดิ์ โพธิ์ศรี (ผู้สัมภาษณ์). ที่ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น 182/12 หมู่ 4 ถนนศรีจันทร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000. เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2566
ศรีสุดา (ผู้ให้สัมภาษณ์). ณัฐภัทร จงอริยตระกูล (ผู้สัมภาษณ์). ที่ ศิลาโฮมสเตย์ 87 หมู่ 6 บ้านท่าแก ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000. เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2566
สายสมร (ผู้ให้สัมภาษณ์). สิทธิศักดิ์ โพธิ์ศรี (ผู้สัมภาษณ์). ที่ ศิลาโฮมสเตย์ 87 หมู่ 6 บ้านท่าแก ตำบลศิลา อำเภอ เมือง จังหวัดขอนแก่น 40000. เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2566
สังคม (ผู้ให้สัมภาษณ์). สิทธิศักดิ์ โพธิ์ศรี (ผู้สัมภาษณ์). ที่ ศิลาโฮมสเตย์ 87 หมู่ 6 บ้านท่าแก ตำบลศิลา อำเภอเมือง
จังหวัดขอนแก่น 40000. เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2566
อุดม (ผู้ให้สัมภาษณ์). ณัฐภัทร จงอริยตระกูล (ผู้สัมภาษณ์). ที่ ศิลาโฮมสเตย์ 87 หมู่ 6 บ้านท่าแก ตำบลศิลา อำเภอ เมือง จังหวัดขอนแก่น 40000 . เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2566
อดิศักดิ์ (ผู้ให้สัมภาษณ์). สิทธิศักดิ์ โพธิ์ศรี (ผู้สัมภาษณ์). ที่ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น 182/12 หมู่ 4 ถนนศรีจันทร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000. เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2566