ส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภควัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • นภัสสร แสงนิล นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • สิทธิพัทธ์ เลิศศรีชัยนนท์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

คำสำคัญ:

พฤติกรรม , ส่วนประสมทางการตลาด , การตัดสินใจซื้อเสื้อผ้า, ช่องทางออนไลน์ , ผู้บริโภควัยทำงาน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภควัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร และ 2) ศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภควัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภควัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร ที่ซื้อเสื้อผ้าผ่านช่องทางออนไลน์ จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาความสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคุณ โดยเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ (Online Questionnaire)

          ผลการวิจัยพบว่า 1) เพศ และอาชีพ มีอิทธิพลเชิงลบการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภควัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00 และสามารถทำนายการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าผ่านช่องทางออนไลน์ ได้ร้อยละ 3.8 2) อิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดมีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภควัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00 และสามารถทำนายการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าผ่านช่องทางออนไลน์ ได้ร้อยละ 51.7 จากผลการศึกษาสามารถใช้เป็นแนวทางให้กับผู้ประกอบการธุรกิจขายเสื้อผ้าออนไลน์ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถที่จะนำข้อมูลทางด้านส่วนประสมทางการตลาดมาวางแผนปรับปรุงและพัฒนารวมถึงวางแผนกลยุทธ์การตลาดเสื้อผ้าให้ดีมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2565). ธุรกิจดาวเด่น 10 ธุรกิจปี 65 สร้างมูลค่าตลาดรวมกว่า 1.32 ล้านล้านบาท. ค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2565, จาก https://www.bangkokbiznews.com/business/985252.

บูรณ์เมตต์ วิวัฒนานุกูล. (2564). ทำความรู้จักธุรกิจ B2C e e-Commerce: รูปแบบธุรกิจ รูปแบบการชำระเงิน และวิธีการติดตามภาวะตลาด. กรุงเทพฯ : ธนาคารแห่งประเทศไทย. 23 หน้า.

มัณฑิตา จินดา. (2563). คู่มือทำธุรกิจบนไลน์-ตัวช่วยลูกค้าติด ธุรกิจโต. กรุงเทพฯ : ไลน์ คอมพานี (ประเทศไทย). 71 หน้า.

ฤทัยชนนี สิทธิชัย. (2562). พฤติกรรมการรังแกบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริเพ็ญ เล่าลือเกียรติ. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์ทางการตลาด 4C’s กับกระบวนการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแบรนด์ยูนิโคล่ของคน Gen-Y ในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อรรถพล กิตติธรรมสาร. (2562). กลยุทธ์และวิธีขาย ให้รวยได้จริงที่ Lazada. นนทบุรี: ไอดีซีฯ.

อิสริยา ตัณฑะพานิชกุล. (2563). ยิงแอดออนไลน์ งบไม่บานปลาย ขายได้คุ้มชัวร์. กรุงเทพฯ: โปวิชั่น.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. (3nd Ed.). New York: John Wiley and Sons Inc.

www. techsauce.co. (2564). ความเคลื่อนไหวของตลาดอีคอมเมิร์ซไทยปี 2020 [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2565, จาก : https://techsauce.co/news/priceza-thailand-e-commerce-market- 2020.

Yang Y. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นออนไลน์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์เฟสบุ๊ค (Facebook) ของผู้บริโภควัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-17