ส่วนประสมทางการตลาดบริการในมุมมองของผู้บริโภคที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า ในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • จินตนา จันเรือน อาจารย์ประจำ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยี วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง
  • สุวิทย์ นามบุญเรือง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยี วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาดบริการ, การตัดสินใจซื้อ , ร้านค้าปลีกสมัยใหม่

บทคัดย่อ

           การวิจัย เรื่อง ส่วนประสมทางการตลาดบริการในมุมมองของผู้บริโภคที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เพื่อศึกษาการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค และส่วนประสมทางการตลาดบริการในมุมมองของลูกค้าที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคต่อร้านค้าปลีกสมัยใหม่ เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ผู้บริโภคที่เคยซื้อสินค้ากับร้านค้าปลีกสมัยใหม่ จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า การตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคต่อร้านค้าปลีกสมัยใหม่ อยู่ในระดับมาก (=4.43) เมื่อวิเคราะห์เป็นรายข้อ พบว่าปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ      ซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกเพราะเป็นร้านที่มีชื่อเสียง รองลงมา ซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกเพราะสินค้ามีคุณภาพ และบริการที่ดี และซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกเพราะได้รับอิทธิพลจากผู้คนรอบข้าง และส่วนประสมทางการตลาดบริการของผู้บริโภคต่อร้านค้าปลีกสมัยใหม่ อยู่ในระดับมาก เมื่อวิเคราะห์เป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านราคา รองลงมา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านผลิตภัณฑ์ กับ ด้านการส่งเสริมทางการตลาด มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน คือ ด้านบุคคล ด้านการสร้างและการนำเสนอภาพลักษณ์ และด้านกระบวนการ จากการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณของส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของลูกค้ามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคต่อร้านค้าปลีกสมัยใหม่ อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 คือ ด้านการสร้างและการนำเสนอภาพลักษณ์

References

กมลวรรณ สุขสมัย. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการศูนย์การค้าพบว่าปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีมีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการศูนย์การค้า. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จงจินต จิตร์แจ้ง. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบผู้บริโภคกับผู้บริโภคบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ กรณีศึกษา: ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพมหานคร :บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

นรินทร์ ตันไพบูลย์. (2564). แนวโน้มธุรกิจอุตสาหกรรม ปี 2564-66 ธุรกิจร้านค้าปลีกสมัยใหม่ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2565, จาก : https://riverplus.com/moderntrade-trends.

ปรัชญา นันทปถวี. (2562). อิทธิพลของสื่อสารการตลาดแบบดิจิทัลส่วนประสมทางการตลาด 4P และผู้มีอิทธิพลที่มีต่อการตัดสินใจซื้อสมาร์ททีวีในกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พรไพลิน เพชรอาวุธ. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมของประชากรในอำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่. การค้นคว้าอิสระธุรกิจบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พันธุ์ทิพย์ ดีประเสริฐดำรง. (2559). ส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าร้าน LOFT ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภูริต กองบุญสุข. (2561). ส่วนประสมค้าปลีกที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม (โชห่วย) กรณีศึกษา ร้านค้าชุมชน ตำบลป่าไผ่ เชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ศรัญญา วิจิตรบุญชูวงศ์, ธำรง เมฆโหรา และปัญญา หมั่นเก็บ. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ในเขตกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษาร้าน Yamazaki. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 34(2), 31-40.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญ ลักษิตานนท์ และ ศุภร เสรีรัตน์. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่ (Marketing management) ฉบับปรับปรุงใหม่ ปี 2552. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร.

Cronbach, L.J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-17