ต้นทุนและผลตอบแทนจากการทำจานกาบหมาก กลุ่มบ้านขามแดง ตำบลห้างฉัตร อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
ต้นทุน, ผลตอบแทน, จานกาบหมากบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนจากการทำจานกาบหมาก กลุ่มบ้านขามแดง ตำบลห้างฉัตร อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ศึกษาและเก็บรวบรวมโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบเชิงลึกจากผู้ทำจานกาบหมาก จำนวน 10 ราย ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนของการทำจานกาบหมาก ประกอบด้วย ประกอบด้วยวัตถุดิบทางตรง 1.80 บาทต่อหน่วย คิดเป็นร้อยละ 20.69 ค่าแรงงานทางตรง 5.53 บาทต่อหน่วย คิดเป็นร้อยละ 63.56 ค่าใช้จ่ายในการผลิตคงที่ 0.13 บาท ต่อหน่วย คิดเป็นร้อยละ 1.49 และค่าใช้จ่ายในการผลิตผันแปร 1.24 บาท ต่อหน่วย คิดเป็นร้อยละ 14.25 ดังนั้นต้นทุนการผลิตจานกาบหมากต่อหน่วยเท่ากับ 8.70 บาท และต้นทุนการผลิตต่อปีเท่ากับ 1,628,640 บาท ผลตอบแทนจากการทำจานกาบหมาก รายได้จากการจำหน่ายต่อวันเท่ากับ 6,000 บาท ต้นทุนในการผลิตต่อวัน เท่ากับ 5,220 บาท กำไรขั้นต้นจากการจำหน่ายต่อวันเท่ากับ 780 บาท อัตราส่วนกำไรขั้นต้นต่อยอดขายร้อยละ 13.00 รายได้จากการจำหน่ายต่อเดือนเท่ากับ 156,000 บาท กำไรขั้นต้นจากการจำหน่ายต่อเดือนเท่ากับ 20,280 บาท อัตราส่วนกำไรขั้นต้นต่อยอดขายร้อยละ 13.00 กำไรขั้นต้นจากการจำหน่ายต่อปีเท่ากับ 243,360 บาท อัตราส่วนกำไรขั้นต้นต่อยอดขายร้อยละ 13.00 จุดคุ้มทุนของผู้ลงทุนผลิตจานกาบหมาก มีจุดคุ้มทุนต่อวันอยู่ที่ 545.45 บาท มีจุดคุ้มทุนต่อเดือนอยู่ที่ 14,181.82 บาท และมีจุดคุ้มทุนต่อปีอยู่ที่ 170,181.82 บาท ข้อเสนอแนะ กลุ่มวิสาหกิจผลิตจานกาบหมาก ควรดำเนินการจดบันทึกบัญชีทั้งต้นทุน รายได้หรือปริมาณการผลิต ทำให้สามารถทราบต้นทุน รายได้และผลตอบแทนที่ถูกต้องได้ และภาครัฐควรช่วยส่งเสริมให้ชาวลำปางปลูกหมากมากขึ้น จะทำให้กลุ่มวิสาหกิจผลิตจานกาบหมากลดต้นทุนค่าใช้จ่ายของค่าขนส่งได้มากขึ้น
References
กนกพิชญ์ อินผูก. (2556). ต้นทุนผลตอบแทนและการจัดการต้นทุนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร. (2564). จานกาบหมากภาชนะรักษ์โลก วิถีชายแดนใต้. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2566, จาก : https://www.isoc5.net/articles/view/315/.
ธนพล สตางค์จันทร์ และคณะ. (2563). การประเมินโครงการวิสาหกิจชุมชนจานกาบหมากท่าดีหมีด้วยวิธีทางเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม. ใน การประชุมวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ครั้งที่ 2, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 272-281. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
นภดล จันทรลักษณ์ และ สมนึก วัฒนศรียกุล. (2555). การออกแบบและสร้างเครื่องขึ้นรูปภาชนะที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติ. ใน การประชุมเครือข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ, 17-19 ตุลาคม 2555. 1770-1775. ชะอำ: เพชรบุรี.
มลสุดา ลิวไธสง. (2556). การผลิตภาชนะย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากกาบกล้วย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
สุฑามาศ ไชยคำ และคณะ. (2563). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตข้าวเม่า : กรณีศึกษา ผู้ประกอบการในเขตบ้านกลางใหญ่ ตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี. บัญชีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
อินทิรา สุวรรณดี และคณะ. (2563). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตปลาร้าแปรรูป : กรณีศึกษา กลุ่มแจ่วบอง OTOP 3 ดาว บ้านหนองแก อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 49-60.
บุคลานุกรม
ผู้สัมภาษณ์ 1-10 (ผู้ให้สัมภาษณ์). อัจฉรา เฮ่ประโคน (ผู้สัมภาษณ์). ที่ เลขที่ 185/6 หมู่ที่ 6 ถนน ตำบลห้างฉัตร อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง. เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2566.