กลยุทธ์การสอบบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ ในเขตภาคตะวันตก

ผู้แต่ง

  • นางสาวพิมพ์ปวีณ์ มะณีวงค์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หลักสูตรบัญชีบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • สุภาวดี มะณีวงค์ อาจารย์ หลักสูตรบัญชีบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

คำสำคัญ:

คุณภาพและกลยุทธ์การสอบบัญชี, ประสิทธิภาพการทำงาน, ผู้สอบบัญชีสหกรณ์

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กลยุทธ์การสอบบัญชีกับประสิทธิภาพการทำงาน และ 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพและกลยุทธ์การสอบบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ในเขตภาคตะวันตก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้สอบบัญชีสหกรณ์ในเขตภาคตะวันตก จำนวน 85 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานคือ การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ

            ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยด้านการวางแผนการตรวจสอบ ด้านการประเมินความเสี่ยง ด้านการวิเคราะห์งบการเงิน และด้านการตรวจสอบเนื้อหาสาระส่งผลต่อกลยุทธ์การสอบบัญชีโดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ปัจจัยด้านความถูกต้อง ด้านความรวดเร็ว ด้านการบรรลุเป้าหมาย และด้านความทันต่อเวลาส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน และ 2) ผลการทดสอบสมมติิฐานพบว่า คุณภาพและกลยุทธ์การสอบบัญชี ด้านการวางแผนการตรวจสอบ ด้านการวิเคราะห์งบการเงิน และด้านการตรวจสอบเนื้อหาสาระมีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ในทางตรงข้ามด้านการประเมินความเสี่ยงมีผลกระทบเชิงลบต่อประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

References

เอกสารอ้างอิง

จารินยา แก้วสุริยา. (2560). ผลกระทบของคุณภาพในการสอบบัญชีและความต่อเนื่องในการสอบทานงานสอบบัญชีที่มีต่อความน่าเชื่อถือในการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย. บัญชีมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

จิรัฐติกาล วุฒิพันธุ์ กฑิตา พันธ์ยาง กนกวรรณ คำเพ็ง จิรประภา สุขสม ธนัชพร ใจบุญ ปรีดี โสดาดง และสุจิตรา ทองไลย์. (2560). การใช้วิจารณญาณในการสังเกตและสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพที่มีผลต่อประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ในสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 5, วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 10(2), 155-168.

ชลกนก โฆษิตคณิน. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในวิชาชีพของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย.

การค้นคว้าอิสระธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

ณัฏฐธิดา จินมอญ. (2559). ความเป็นมืออาชีพกับคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.

ธน บุญเกิด. (2565). การบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันตก. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(10), 1-15.

นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ. (2557). การสอบบัญชีและการให้ความเชื่อมั่น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ทีพีเอ็นเพรส.

นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ และศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2550). การสอบบัญชี. (พิมพ์ครั้งที่ 7).. กรุงเทพฯ : หจก.ทีพีเอ็น เพรส.

พิมพ์ปวีณ์ มะณีวงค์. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพที่ดี ความน่าเชื่อถือในการสอบบัญชีและความสำเร็จในการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ, 4(3), 139-153.

ลลิตา พิมทา. (2561). ผลกระทบของจริยธรรมทางการบัญชีที่มีต่อความสำเร็จในการทำงานของนักบัญชีบริษัทในจังหวัดร้อยเอ็ด. การค้นคว้าอิสระคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี. มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.

ลินนภัสร์ วุฒิกนกกัญจน์. (2566). ปัญหาในการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรฐานการตรวจสอบและรับรองบัญชีในประเทศไทย. วารสารราชภัฎยะลา, 18(1), 113-121.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2559). การวางแผนการทดลองสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุษดากร ศิริมงคล และดารณี เอื้อชนะจิต. (2566). ผลกระทบของความรับผิดชอบทางวิชาชีพบัญชีและจรรยาบรรณที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการประกอบวิชาชีพบัญชี กรณีศึกษา: ผู้ทำบัญชีในจังหวัดกรุงเทพฯ และปริมณฑล, วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 7(2), 1-13.

บริสุทธิ์ เปรมประพันธ์. (2560). เคลื่อนยุทธศาสตร์ 5 ปีตรวจบัญชีสหกรณ์สร้างนวัตกรรม-พัฒนาองค์กรก้าวสู่ยุค‘Thailand 4.0 [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2565, จาก : https://www.naewna.com/local/242370

ประนัย ชมภูกูล และวชิระ บุณยเนตร. (2565). แนวทางการประเมินและตอบสนองความเสี่ยงการตรวจสอบบัญชี คริปโทเคอร์เรนซี่ด้านผู้ถือสินทรัพย์. วารสารสภาวิชาชีพบัญชี. 4(11), 4-27.

วณิชฌา ผาอำนาจ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการสอบบัญชีภาษีอากรในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

วริยา ยอดปั๋น และดารณี เอื้อชนะจิต. (2565). ปัจจัยในยุคดิจิทัลที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการสอบบัญชีและความน่าเชื่อถือของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 7. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(10), 247-260.

สภาวิชาชีพบัญชี. (2566). เครื่องมือช่วยในการสอบบัญชีและคุณภาพงานสอบบัญชี. ค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2566, จาก : https://acpro-std.tfac.or.th/standard/89/

สำนักมาตรฐานการบัญชีและการสอบบัญชี. (2567). คำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ ที่ 2/2565 เรื่อง มอบอำนาจหน้าที่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการแทนนายทะเบียนสหกรณ์. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2566, จาก : https://private.cad.go.th/download

สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์. (2566). อัตรากำลังพลและการตรวจสอบบัญชี [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 22 มีนาคม

, จาก : https://ratchaburi.cad.go.th/main.php?filename=statur001

อารยา องค์เอี่ยม และพงศ์ธารา วิจิตรเวชไพศาล. (2561). การตรวจสอบคุณภาพเครื่องวิจัย. วิสัญญีสาร, 4(1), 36-42.

Aaker, D.A., Kumar V., and Day G.S. (2001). Marketing Research. (7th Ed.). New York :John Wiley and Sons.

Black, K. (2006). Business Statistics for Contemporary Decision Making. (4th Ed.). USA: John Wiley & Son.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-01