การสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการและความคาดหวังของลูกค้าที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการ ซื้อซ้ำของผู้บริโภคบนแอปพลิเคชัน ผ่านความพึงพอใจในการใช้บริการ
คำสำคัญ:
การสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการ , ความคาดหวังของลูกค้า , ความพึงพอใจในการใช้บริการ , ความตั้งใจในการซื้อซ้ำบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการและความคาดหวังของลูกค้าที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการซื้อซ้ำของผู้บริโภคบนแอปพลิเคชัน ผ่านความพึงพอใจในการใช้บริการ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่เคยซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน จำนวน 385 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน วิเคราะห์ข้อมูลในการทดสอบสมมติฐานด้วยสมการโครงสร้างเชิงเส้น (Structural Equation Modeling : SEM)
ผลการวิเคราะห์ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุอยู่ในกลุ่ม Gen Y อายุ 23 – 39 ปี ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ มีรายได้ต่อเดือน 30,001 บาทขึ้นไปมีสถานภาพ โสด มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพมหานคร มีความถี่ในการซื้อผ่านแอปพลิเคชันประมาณ 2 - 3 ครั้ง ต่อเดือน จำนวนเงินในการซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน 501 – 1,000 บาทต่อครั้ง ประเภทสินค้าที่ซื้อ คือ แฟชั่นผู้หญิง แอปพลิเคชันที่ใช้ซื้อสินค้าคือ Shopee ส่วนใหญ่ชำระเงินปลายทาง ผลการวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ ความคาดหวังของลูกค้า และความพึงพอใจที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการซื้อซ้ำของลูกค้าบนแอพพลิเคชั่น ผลปรากฎว่ายอมรับสมมติฐานทั้งหมด อธิบายได้ว่าการสื่อสารทางการตลาดเชิงบูรณาการบนแอปพลิเคชันมีอิทธิพลต่อความพึงพอใจ ความคาดหวังของลูกค้า และความตั้งใจในการซื้อซ้ำ
References
งามตา นามแสง, อรุณรุ่ง วงศ์กังวาน, บัณฑิต ผังนิรันดร์, ปราณี ตรีทศกุล, สิริอร จำปาทอง, ปลื้มใจ สินอากร และ ณัฐพงษ์ เตชะรัตนเสฎฐ์. (2562). ส่วนประสมทางการตลาดบริการ และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อที่มีผลต่อความตั้งใจกลับมาซื้อซ้ำของลูกค้าที่ซื้อสินค้าในซุปเปอร์สโตร์ผ่านแอปพลิเคชัน. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา : มหาวิทยาสวนสุนันทา, 10(1), 11 – 20.
พัชร สมะลาภา. (2564). คนไทยใช้โมบายแบ็งค์กิ้งอันดับ 1 ของโลก [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 5 เมษายน 2564, จาก : https://www.prachachat.net/finance.
ณัฐพล ม่วงทำ. (2563). สถิติใช้อินเตอร์เน็ตคนไทย [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 1 เมษายน 2564, จาก: https://www.everydaymarketing.co/trend-insight.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2564, จาก:https://fillgoods.co/online-biz/no-shop- etda-report-b2c-1-asean/.
วีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล. (2564). รมช.พาณิชย์ชี้เอกชนเร่งปรับตัวรับการค้ายุค New Normal [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ10 พฤษภาคม 2564, จาก : https://www.bangkokbiznews.com.
วรัสสิญา ศุภธนโชติพงศ์. (2562). คุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความตั้งใจที่จะใช้บริการช้ำของลูกค้า ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กรณีศึกษาพื้นที่ส่วนกลางกรุงเทพมหานคร ภาค 203. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุพล พรหมมาพันธุ์. (2560). Internet of Thing เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 5 เมษายน 2564, จาก : https://www.spu.ac.th/fac/business.
Aaker, A., Kumar, V. and Day. G. (2001). Marketing Research. (7th Ed). New York : John Wiley & Sons.
Best, W. (1981). Research in Education. (4rd ed). Englewood.Cliff, N.J. : Prentice Hall. 82
Changsu, K., Galliers, R., Namchul, S., Joo- Han., Y., & Jongheon, k. (2012). Factors influencing Internet shopping value and customer repurchase intention. Electronic Commerce Research and Applications 11(4), 3. 74 pages.
Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York : John Wiley & Sons. 48-50 pages.
Finne, A. and Gronroos, C. ( 2017). Communication-in-use: customer-integrated marketingcommunication. European Journal of Marketing. 445 pages.
Fornell, C. G.and Larcker, D. F. (1981). Evaluating structural equationmodels with unobservable variables and measurement error. Journalof Marketing Research, 18(1). 39–50 pages.
Nunnally, J.and Bernstein, L. (1994). Psychometric theory. (3rd ed.). New York: McGraw Hill. 275-280 pages.
Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J and Anderson, R.E. (2010). Multivariate data analysis: A global perspective. (7th Ed.). New Jersey : Pearson Education Inc. 741-742 pages.
Kotler, P. and Keller, K. L. (2009). Marketing management. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall. 615 pages.
Turner, J.C. (1982) Towards a Cognitive Redefinition of the Social Group. In: Tajfel,
H., Ed., Social Identity and Intergroup Relations. Cambridge University Press, Cambridge. 15 pages.